สารยืดอายุน้ำยางสดเพื่อการผลิตยางแผ่น (BeThEPS)
นักวิจัย  
นายสุริยกมล มณฑา
นางสาวนันทินา มูลประสิทธิ์
นางสาวปิยะดา สุวรรณดิษฐากุล
นายทิพย์จักร ณ ลำปาง
นางฉวีวรรณ คงแก้ว
นายสุรพิชญ ลอยกุลนันท์
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
 
สถานภาพสิทธิบัตร
ความลับทางการค้า
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
น้ำยางสดที่กรีดได้จากต้นยางพาราจะคงสภาพเป็นน้ำยางอยู่ได้เพียงระยะเวลาอันสั้น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางเคมีที่ผิวของอนุภาคยางและการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของแบคทีเรียโดยใช้สารอาหารในน้ำยางสด ทำให้อนุภาคยางรวมตัวกันเป็นก้อน เกิดบูดเน่ามีกลิ่นเหม็น ส่งผลทำให้เกษตรกรไม่สามารถนำน้ำยางสดไปแปรรูปเป็นยางแผ่นได้ ปัญหาการเสียสภาพของน้ำยางสดก่อนการแปรรูปเป็นยางแผ่นจะเกิดขึ้นได้ง่ายมากในพื้นที่กรีดยางที่ห่างไกลจากจุดแปรรูป/จุดรับซื้อน้ำยาง หรือ มีความลำบากในการขนส่งน้ำยางสด ต้องใช้เวลานานในการขนส่งน้ำยางสดไปยังจุดแปรรูป/จุดรับซื้อน้ำยาง ปัจจุบันเกษตรกรใช้แอมโมเนีย หรือ โซเดียมซัลไฟต์ (ยากันกรอก) เพื่อช่วยยืดอายุน้ำยางสดก่อนการแปรรูปเป็นยางแผ่น แต่แอมโมเนียเป็นสารเคมีที่ระเหยง่าย มีกลิ่นฉุน เป็นพิษต่อผู้ปฏิบัติงานและสิ่งแวดล้อม ส่วนโซเดียมซัลไฟต์ ช่วยยืดอายุน้ำยางสดได้ไม่เกิน 24 ชั่วโมง หากใช้ในปริมาณมากจะทำให้การจับตัวน้ำยางสดทำได้ยาก และเกิดฟองอากาศในแผ่นยาง ส่งผลทำให้ยางแผ่นมีราคาถูกลง
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
สารยืดอายุน้ำยางสดเพื่อการผลิตยางแผ่น (สาร ThEPS) สามารถใช้ทดแทนแอมโมเนีย หรือ โซเดียมซัลไฟต์ (ยากันกรอก) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยหากต้องการยืดอายุน้ำยางสดเป็นระยะเวลา 12, 36 และ 60 ชั่วโมง ก่อนการแปรรูปเป็นยางแผ่น ควรใช้สาร ThEPS ในปริมาณ 2 กรัม, 4 กรัม และ 8 กรัม ต่อกิโลกรัมน้ำยางสด ตามลำดับ ยางแผ่นรมควันที่ผลิตจากน้ำยางสดที่ผ่านการรักษาสภาพด้วยสาร ThEPS ได้รับการจัดชั้นคุณภาพยางเป็นยางแผ่นรมควันชั้น 3 และลดปริมาณยางตกชั้นลงได้ถึงร้อยละ 9 ซึ่งสามารถช่วยเพิ่มมูลค่าจากการขายยางแผ่นรมควันให้กับเกษตรกรได้ และยางแผ่นรมควันที่ผลิตจากน้ำยางสดที่ผ่านการรักษาสภาพด้วยสาร ThEPS มีสมบัติทางกายภาพ สมบัติการคงรูป และสมบัติความแข็งแรงเชิงกล ใกล้เคียงกับยางแผ่นรมควันที่ผลิตจากน้ำยางสดที่ไม่ได้ใช้สารรักษาสภาพน้ำยาง

รายชื่อบริษัทที่รับสิทธิไปผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์
1. บริษัท เอ็ม ไอ อินเตอร์ จำกัด ติดต่อคุณ ธิดารัตน์ นาเมืองรักษ์ 089 499 4222 (กรุงเทพ)
2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด วัน พารา เอ็นจิเนียริ่ง ติดต่อ คุณ ศุภกัญจน์ เหลืองอ่อน 0877662030 (น่าน/ชลบุรี)
3. นางสาวพิมพลอย วิสิฐธนาอังกูร ซึ่งได้ประกอบพาณิชยกิจ ชื่อ “อินเทลลิเจ้น รับเบอร์ อินโนเวชั่น” 093-456-2695
4. บริษัท อิคคิว เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด คุณ เพิ่มพล ศิริสุวัฒน์ 091-789-5295
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) สวทช.
โทรศัพท์ 0 2564 7000 ต่อ 1617
Email tlo-ipb@nstda.or.th