อุปกรณ์ขนย้ายผู้บาดเจ็บและ ผู้ป่วยแบบสามส่วน
นักวิจัย  
ดร.ดนุ พรหมมินทร์
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
 
สถานภาพสิทธิบัตร
สิทธิบัตร เลขที่ 33523 เรื่อง อุปกรณ์ขนย้ายผู้บาดเจ็บและผู้ป่วยแบบสามส่วน
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1001001009
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1001000804
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุเป็นผู้ป่วยวิกฤต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายที่ได้รับบาดเจ็บหลายระบบ ในกลุ่มนี้ ต้องมีระบบการรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็ว จึงจะสามารถรักษาชีวิตของผู้ป่วยไว้ได้ ความล่าช้าแม้จะเป็นเพียงเวลาไม่กี่นาทีอาจจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงผลการรักษาได้ไม่ว่าจะพิการหรือเสียชีวิต เป็นความสูญเสียที่มีความหมาย ต่อชีวิตชีวิตหนึ่งหรือต่อครอบครัวครอบครัวหนึ่ง โดยในการเกิดอุบัติเหตุอวัยวะที่ได้รับการบาดเจ็บสูงที่สุด คือ ศีรษะ พบถึงร้อยละ 35.4 และเป็นสาเหตุที่ทําให้เกิดการสูญเสียชีวิตสูงที่สุดคิดเป็น ร้อยละ 33.6 (ทะเบียนผู้ป่วยอุบัติเหตุ โรงพยาบาลขอนแก่น, 2542) และได้ทราบปัญหาจากแพทย์ที่รับผิดชอบโดยตรงด้านอุบัติเหตุที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติเกี่ยวเรื่องการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บผิดวิธีโดยเฉพาะคนเจ็บที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอัมพาต ทำให้มีหลายกรณีไม่สามารถกลับมาใช้ชีวิตปกติได้หลังได้รับการรักษา สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากขาดความรู้ความเข้าใจในการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บที่ถูกวิธี
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
ด้วยการออกแบบให้มีการขยับตัวผู้ป่วยทีละจุดทำให้มีการขยับตัวน้อยมาก รวมทั้งสามารถเก็บพกพาและประกอบได้สะดวก ขนย้ายได้เร็ว ประกอบกับการวิเคราะห์ทางกลเสมือนจริงด้วยวิธีไฟไนต์เอเลเมนต์ ทำให้มีคุณสมบัติความแข็งการรับน้ำหนักได้มากถึง 160 กิโลกรัม ทำให้มีความปลอดภัยสูงและผู้ช่วยผู้ประสบภัยฉุกเฉินสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีราคาเดียว
สนใจสอบถามข้อมูล
โทรศัพท์ (02) 564 7000 ต่อ 1618
Email tlo-ipb@nstda.or.th
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี สวทช.

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "อุปกรณ์ขนย้ายผู้บาดเจ็บและ ผู้ป่วยแบบสามส่วน"