แป้งต้านอนุมูลอิสระ
นักวิจัย  
ผศ.ดร.ฐิตา ฟูเผ่า
นายวีรชน ภูหินกอง
ผศ.ดร.ธีรนุช ฉายศิริโชค
โรงเรียนการเรือน มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
 
สถานภาพสิทธิบัตร
อยู่ระหว่างยื่นคำขอ
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
สารในกลุ่มแคโรทีนอยด์ เช่น ไลโคปีน (Lycopene) และเบตาแคโรทีน (Beta-carotene) เป็นสารประกอบลิโพฟิลิกทุติยภูมิ ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารโภชนเภสัช โดยเป็นได้ทั้งอาหารและยา สามารถออกฤทธิ์ทางยาโดยเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพที่ดีในระยะยาว ช่วยในการชะลอความแก่ตามธรรมชาติ และป้องกันหรือลดอัตราเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ ได้ ผลของพืชในกลุ่มที่มีสีแดง เช่น มะเขือเทศและฟักข้าว จะมีปริมาณไลโคปีนสูง ซึ่งในปัจจุบันได้มีการนำมาเป็นส่วนผสมในการประกอบอาหารต่าง ๆ เพื่อเพิ่มคุณค่าทางอาหาร อย่างไรก็ตามไลโคปีน และเบตาแคโรทีน ไม่สามารถละลายในน้ำได้ เมื่อนำมาผสมเพื่อผลิตอาหารที่ทำจากแป้ง เช่น ซาลาเปา หมั่นโถว ก็ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการดูดซับสารเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ในร่างกายจากการบริโภคมีชีว ปริมาณในการออกฤทธิ์ต่ำมาก รวมกับสารเหล่านี้มีความคงตัวในสภาวะแวดล้อมปกติได้ต่ำ เกิดการเสียสภาพได้ง่ายภายในเวลาอันรวดเร็วโดยออกซิเจนในอากาศ ความร้อน แสง และสลายตัวในระหว่างทางเดินอาหารก่อนการดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ส่งผลให้ร่างกายได้รับปริมาณสารออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ต่ำลง
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
แป้งต้านอนุมูลอิสระที่ได้มีการพัฒนาให้สารออกฤทธิ์ชีวภาพสามารถเก็บรักษาไว้ได้นานขึ้น อยู่ในรูปแบบที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ ได้ง่าย และมีชีวปริมาณออกฤทธิ์สูง เหมาะสำหรับนำไปผลิตอาหารที่ทำจากแป้ง เช่น ซาลาเปา หมั่นโถว เป็นต้น เพื่อได้ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับ pilot scale ได้ถูกทดสอบในสภาวะทำงานจริง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต 295 ถนนนครราชสีมา เขตดุสิต กทม. 10300
โทรศัพท์ 02 2445280-2

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "แป้งต้านอนุมูลอิสระ"