ฟิล์มพลาสติกชีวภาพถนอมอาหาร
นักวิจัย  
ผศ.ดร.ฐิตา ฟูเผ่า
นายวีรชน ภูหินกอง
นายพิพัฒน์ เลิศโกวิทย์
โรงเรียนการเรือน มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
 
สถานภาพสิทธิบัตร
อยู่ระหว่างยื่นคำขอ
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ผักและผลไม้เป็นอาหารประเภทที่เน่าเสียโดยจุลินทรีย์ได้ง่าย (Perishable food) เนื่องจากมีความชื้นและค่า aw ของอาหารสูง ทำให้จุลินทรีย์สามารถเติบโตได้ดี วิธีที่ใช้ในการถนอมอาหารประเภทผักและผลไม้ในปัจจุบันคือการแช่เย็น ซึ่งเป็นการยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ ชะลอการเน่าเสีย และลดอัตราการเปลี่ยนแปลงทางเคมีได้ แต่ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ส่งผลให้เกิดการคิดค้นบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยในการถนอมรักษาคุณภาพและยืดอายุการเก็บของอาหารให้นานขึ้น ที่เรียกว่าบรรจุภัณฑ์แบบแอคตีฟ (Active packing) โดยบรรจุภัณฑ์แบบแอคตีฟที่นิยมใช้กับอาหารที่เสียง่าย คือ บรรจุภัณฑ์ต้านจุลินทรีย์ (Antimicrobial packing) ซึ่งบรรจุภัณฑ์ดังกล่าวในทางการค้าได้มีการเติมวัตถุกันเสียที่ใช้กับอาหาร สารสกัดจากพืช เอนไซม์ ไอออนของโลหะ และก๊าซบางชนิด โดยส่วนใหญ่จะบรรจุอยู่ในซองเล็ก ๆ เพื่อใส่ในภาชนะบรรจุ แต่ในงานวิจัยนี้ได้มีการพัฒนาสารต้านจุลินทรีย์ชนิดใหม่ โดยใช้วัสดุคอปเปอร์ซิงค์ออกไซด์ นาโนคอมโพสิทที่ไม่มีขายทางการค้าและทำการแต่งเติมลงในพอลิเมอร์ เพื่อขึ้นรูปเป็นแผ่นฟิล์มใช้ในการห่อหุ้มอาหาร ซึ่งสามารถทำลายจุลินทรีย์ที่อยู่บนผิวหน้าขอ
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
ฟิล์มพลาสติกชีวภาพถนอมอาหารที่ได้มีการพัฒนาโดยใช้วัสดุนาโนไฮบริดที่มีคุณสมบัติต้านจุลินทรีย์และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เหมาะสำหรับนำไปใช้ในการเพิ่มมูลค่าของบรรจุภัณฑ์อาหาร และบรรจุภัณฑ์ที่ต้องการความสะอาด ปราศจากเชื้อ เช่น บรรจุภัณฑ์วัสดุทางการแพทย์ และยา เป็นต้น
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับ pilot scale ได้ถูกทดสอบในสภาวะทำงานจริง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
โทรศัพท์ 02 2445280-2

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "ฟิล์มพลาสติกชีวภาพถนอมอาหาร"