สูตรและวิธีการผลิตน้ำพริกแกงป่ามะแขว่น |
นักวิจัย |
|
อาจารย์สุวิมล กะตากูล เรเกอร์ส สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี |
|
|
สถานภาพสิทธิบัตร |
อยู่ระหว่างยื่นคำขอ |
|
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา |
น้ำพริกแกงป่าเป็นผลิตภัณฑ์อาหารพื้นบ้าน พัฒนากระบวนการผลิตเพื่อสามารถเก็บรักษาได้นานขึ้นและผ่านเกณฑ์มาตรฐาน เป็นอาหารที่ปลอดภัย แกงป่า เป็นแกงแบบไม่ใส่กะทิ นิยมใส่เครื่องเทศจำนวนมากเพื่อปรุงกลิ่นรสโดยเฉพาะเพื่อดับกลิ่นคาวหรือกลิ่นสาบของเนื้อสัตว์ แกงป่าในแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกัน โดยมากเป็นความแตกต่างที่เครื่องเทศในแต่ละท้องถิ่น จังหวัดเพชรบุรี ใส่พริกกะเหรี่ยงและกะปิ จังหวัดราชบุรีใส่พริกกะเหรี่ยง ซึ่งมีรสเผ็ดร้อน เครื่องเทศอื่น ๆ ที่ใช้คือ ยี่หร่า ลูกผักชี โป๋ยกั๋ก พริกไทย กานพลู เวลาปรุงใส่กระชายและใบกะเพราปริมาณมาก จังหวัดสุพรรณบุรี ใช้ทั้งพริกแห้งและพริกสด นิยมใส่หอมแดง จังหวัดนครศรีธรรมราช ใช้ทั้งพริกขี้หนูสดและแห้ง ภาคตะวันออก ใช้เครื่องเทศที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น เช่น ทางจังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราดใช้หัวไพล ขิงแห้ง กระทือ เปราะหอม เร่วหอม หน่อกระวาน ลูกกระวาน ทางจังหวัดระยอง นิยมใส่ดอกผักชีไร่ ดอกกะเพรา ดอกผักชีฝรั่ง และนิยมใส่พริกตุ้มซึ่งเป็นผักท้องถิ่นลงในแกงด้วย |
|
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี |
สูตรการผลิตน้ำแกงป่ามะแขว่นมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ สามารถนำไปใช้ในการประกอบอาหารได้รสชาติที่กลมกล่อม |
|
ความร่วมมือที่เสาะหา |
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ |
|
สถานภาพของผลงานวิจัย |
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง |
|
 |
เงื่อนไข |
เทคโนโลยีราคาเดียว |
|
สนใจสอบถามข้อมูล |
หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี |
โทรศัพท์ |
034534059 ต่อ 354 |
โทรศัพท์มือถือ |
034534096,092-6952451 |
Email |
krubi_50@hotmail.com, krubi2550@gmail.com |
หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี | |
|
คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "สูตรและวิธีการผลิตน้ำพริกแกงป่ามะแขว่น"
|
|