แผ่นฟิล์มยึดติดเยื่อบุเมือกสมุนไพรไทยเพื่อรักษาแผลในช่องปาก |
นักวิจัย |
|
ภญ.ผศ.เอมอร ชัยประทีป วิทยาลัยการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี |
|
|
สถานภาพสิทธิบัตร |
อยู่ระหว่างยื่นคำขอ |
|
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา |
แผลในช่องปากเกิดขึ้นได้บ่อยและพบในหลายรูปแบบทั้งในบุคคลทั่วไปผู้ป่วยและพบสูงถึงร้อยละ 70-80 ในผู้ป่วยโรคมะเร็งหลังได้รับการรักษาด้วยวิธีฉายแสง หรือเคมีบำบัด ซึ่งจะเกิดผลข้างเคียงเป็นแผลที่เยื่อบุภายในช่องปาก หลังจากได้รับการรักษาประมาณ 1 สัปดาห์ ซึ่งแผลในช่องปากนี้จะส่งผลกระทบทำให้ผู้ป่วยเกิดความเจ็บปวด รำคาญ รับประทานอาหารได้น้อยลงจนอาจทำให้เกิดภาวะทุพโภชนาการ คุณภาพชีวิตลดลง ซึ่งการใช้ยาแผนปัจจุบันในการรักษาแผลในปากอาจเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยา การดื้อยา และมีค่าใช้จ่ายในการรักษาค่อนข้างสูง ดังนั้น การใช้สมุนไพรไทยจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาแผลในช่องปาก ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ พญายอ (Clinacanthus nutans (Burm. f) Lindau) ว่านหางจระเข้ (Aloe barbadensis Mill.) และใบบัวบก (Centella asistica (L.) Urban) เป็นพืชสมุนไพรที่ดูแลรักษาได้ง่ายและปลูกได้ในทุกภูมิภาคของประเทศไทย และเปลือกมังคุด (Garcinia mangostana Linn.) เป็นวัสดุที่เหลือทิ้งในภาคอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งมีการศึกษาพบว่าสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ Streotococcus spp. และสามารถรักษาแผลในปากได้
|
|
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี |
1 ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้ป่วยมะเร็งหลังได้รับการรักษาด้วยวิธีฉายแสงหรือเคมีบำบัด ซึ่งจะเกิดผลข้างเคียงจากการรักษา
2 สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสมุนไพรไทยเพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาแผลในช่องปาก
3 แผ่นฟิล์มที่พัฒนาขึ้นสามารถยึดติดเยื่อบุเมือกได้ดีและนานจนสามารถปลดปล่อยสารสำคัญได้เต็มที่ สามารถเพิ่มความร่วมมือของผู้ป่วยในการใช้ยา (patient compliance)
3 แผ่นฟิล์มผ่านการพัฒนาโดยใช้วิธีการทดลองแบบเต็มรูปแบบ (full factorial design) จำนวน 36 การทดลอง การทดลองจึงมีความถูกต้องแม่นยำในสูตรตำรับที่ได้ สามารถต่อยอดเชิงพาณิชย์ได้ง่าย
4 ลดภาระค่าใช้จ่ายจากการใช้ยาแผนปัจจุบันในการรักษาแผลในปากที่มีราคาค่อนข้างสูง อีกทั้งยังจะทำให้เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยา
5 ส่งเสริมการใช้พญายอซึ่งเป็นสมุนไพรที่ปลูกและดูแลรักษาได้ง่ายในทุกภูมิภาคของประเทศไทย ส่งเสริมการใช้มังคุด (Garcinia mangostana Linn.) ที่เป็นวัสดุที่เหลือทิ้งในภาคอุตสาหกรรมอาหารมาใช้ให้เกิดประโยชน์ด้วยวิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสม |
|
ความร่วมมือที่เสาะหา |
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ |
|
สถานภาพของผลงานวิจัย |
ได้ต้นแบบระดับ pilot scale |
|
|
เงื่อนไข |
เทคโนโลยีต่อรองราคา |
|
สนใจสอบถามข้อมูล |
คุณภูชิษา รัตนศีล (กรุณาติดต่อในวันและเวลาราชการ) |
Email |
phushisa_r@rmutt.ac.th |
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี | |
|
คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "แผ่นฟิล์มยึดติดเยื่อบุเมือกสมุนไพรไทยเพื่อรักษาแผลในช่องปาก"
|
|