แอปพลิเคชันบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ชื่อ “หนูไม่กลัวโรงพยาบาล” เพื่อลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยเด็กก่อนเข้ารับการเจาะตรวจไขกระดูก |
นักวิจัย |
|
พญ.พรชนก วันทนากร สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี |
|
|
สถานภาพสิทธิบัตร |
ลิขสิทธิ์ เลขที่คำขอ 364493 |
|
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา |
มีการศึกษาถึงการให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยก่อนการทำหัตถการ โดยการใช้แอพพลิเคชันมือถือ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มที่ใช้ Smartphone application สามารถลดความกังวลในการทำหัตถการได้มากกว่ากลุ่มที่ใช้ยานอนหลับขนาดสูง และกลุ่มที่ใช้ Smartphone Application ร่วมกับยานอนหลับขนาดต่ำ สามารถลดความกังวลก่อนการทำหัตถการได้มากที่สุด
จากการทบทวนวรรณกรรมที่ผ่านมา ยังไม่มีการศึกษาในประเทศไทย เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือในการลดความกลัว และความกังวลก่อนการเจาะไขกระดูกในผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งมาก่อน จึงนำมาซึ่งการสร้างสรรค์และนำแอพพลิเคชันมือถือมาใช้ในการเตรียมตัวผู้ป่วยเด็กก่อนการเจาะไขกระดูก เพื่อลดความกลัวและความกังวลก่อนการเจาะไขกระดูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
|
|
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี |
แอปพลิเคชันนี้จะประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับการเตรียมตัวผู้ป่วยเด็กเพื่อลดความกังวลและความกลัว ก่อนทำหัตถการการเจาะไขกระดูกโดยมีเนื้อหาดังนี้
1. วีดีโอภาพเคลื่อนไหวให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการทำหัตถการเจาะตรวจไขกระดูก
2. กิจกรรมที่ช่วยลดความกังวลและความกลัวของผู้ป่วย ในรูปแบบเกมส์และคลิปการ์ตูนต่างๆ
3. แบบประเมินความวิตกกังวล และความกลัวของผู้ป่วย Visual Analog Scale (VAS) ร่วมกับ Face Pain Scale
4. แบบประเมิน modified Yale Preoperative Scale (mYPAS) สำหรับแพทย์หรือพยาบาลเพื่อประเมินการให้ความร่วมมือในการทำหัตถการของผู้ป่วยเด็ก
|
|
ความร่วมมือที่เสาะหา |
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ |
|
สถานภาพของผลงานวิจัย |
ต้นแบบระดับ pilot scale ได้ถูกทดสอบในสภาวะทำงานจริง |
|
   |
เงื่อนไข |
เทคโนโลยีต่อรองราคา |
|
สนใจสอบถามข้อมูล |
งานถ่ายทอดเทคโนโลยีเชิงพาณิชย์ |
Email |
int.mahidol@gmail.com |
สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล | |
|
คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "แอปพลิเคชันบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ชื่อ “หนูไม่กลัวโรงพยาบาล” เพื่อลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยเด็กก่อนเข้ารับการเจาะตรวจไขกระดูก"
|
|