ผลิตภัณฑ์น้ำมันไพลไมโครอิมัลชันช่วยในการเพิ่มฤทธิ์ต้านการอักเสบ |
นักวิจัย |
|
รศ.ดร.ภญ.วรรธิดา ชัยญาณะ ภาควิชาวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
|
|
สถานภาพสิทธิบัตร |
องค์ความรู้ |
|
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา |
ผลิตภัณฑ์น้ำมันหอมระเหยและน้ำมันไพลสกัดร้อน เป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยที่มีขั้นตอนการเตรียมน้ำมันหอมระเหยด้วยวิธีการกลั่นด้วยน้ำและเตรียมน้ำมันไพลสกัดร้อนโดยการทอดเหง้าไพลในน้ำมันมะพร้าว จากนั้นศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันหอมระเหยและน้ำมันไพลสกัดร้อนด้วยวิธีแก๊สโครมาโทรกราฟีและโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง ตามลำดับ มีการทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบโดยศึกษาการยับยั้งการสลายตัวของอัลบูมิน ยับยั้งการแสดงออกของนิวเคลียแฟคเตอร์แคปปาบี และยับยั้งการหลั่งอินเตอร์ลิวคิน-6 แล้วจึงเตรียมตำรับไมโรอิมัลชันของน้ำมันไพลทั้งสองชนิด ผลการศึกษาพบว่าน้ำมันหอมระเหยมีองค์ประกอบหลักคือ เทอร์ปินีน-4-ออล และซาบินีน ซึ่งมีความคงตัวดีขึ้นเมื่ออยู่ในรูปแบบไมโครอิมัลชัน ส่วนน้ำมันไพลสกัดร้อนมีองค์ประกอบหลักคือเคอร์คูมิน โดยน้ำมันไพลทั้งสองรูปแบบมีความปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อเซลล์มนุษย์ และยังมีฤทธิ์ต้านการอักเสบที่ดีได้อีกด้วย |
|
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี |
ไมโครอิมัลชันจากน้ำมันไพลจึงมีความเหมาะสมสำหรับใช้ในการรักษาภาวะการอักเสบต่างๆ เช่น อาการปวดกล้ามเนื้อ เกร็ง เคล็ดขัดยอก หรือโรคไขข้อ เป็นต้น เนื่องจากไมโครอิมัลชันเป็นตำรับที่ผลิตได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือที่มีความซับซ้อนหรือมีราคาสูง ทั้งยังสามารถเตรียมได้โดยไม่ต้องใช้พลังงาน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ความร้อนหรือใช้แรงในการผสม ดังนั้น จึงเป็นจุดเด่นในการนำตำรับไมโครอิมัลชันไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ในด้านของการลดต้นทุนในการผลิต ทั้งยังสามารถนำไมโครอิมัลชันดังกล่าวไปเตรียมตำรับเจลที่มีความใสและมีความน่าใช้ได้อีกด้วย |
|
ความร่วมมือที่เสาะหา |
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ |
|
สถานภาพของผลงานวิจัย |
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง |
|
|
เงื่อนไข |
เทคโนโลยีต่อรองราคา |
|
สนใจสอบถามข้อมูล |
น.ส. ปานลดา วุฒิรัตน์ |
โทรศัพท์ |
053-948671 ต่อ 0 |
โทรศัพท์มือถือ |
095-1459555 |
Email |
licensing@step.cmu.ac.th |
ฝ่ายพัฒนาธุรกิจนวัตกรรม อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | |
|
คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "ผลิตภัณฑ์น้ำมันไพลไมโครอิมัลชันช่วยในการเพิ่มฤทธิ์ต้านการอักเสบ"
|
|