ชุดชิ้นงานเชื่อมสำหรับตรวจสอบแบบไม่ทำลาย
นักวิจัย  
นายสมศักดิ์ ปามึก
สถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
 
สถานภาพสิทธิบัตร
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 10280
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
การรับรองบุคลากรด้านการตรวจสอบแบบไม่ทำลาย (NDT) ตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 17024 เป็นที่ยอมรับกันในอุตสาหกรรมต่างๆ ทั่วโลก อุตสาหกรรมการเชื่อมโครงสร้างเหล็กและภาชนะรับแรงดันในประเทศไทยมีความจำเป็นต้องใช้บุคลากรด้านการตรวจสอบงานเชื่อมที่ผ่านการรับรองสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานสากล ด้วยเหตุนี้ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์กรมหาชน) ได้ประกาศมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพธุรกิจทดสอบและตรวจสอบขึ้นเพื่อรองรับการพัฒนาบุคลากรด้านการตรวจสอบในประเทศไทย
และปัจจุบัน สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์กรมหาชน) ได้มีการจัดตั้งหน่วยงานรับรองสมรรถนะบุคคล (Certification Body) ตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 17024 ทั้งนี้เพื่อเตรียมความพร้อมของบุคลากรก่อนเข้ารับการทดสอบสมรรถนะผู้เข้ารับการทดสอบจะต้องผ่านการฝึกอบรมความรู้ความสามารถในการตรวจสอบโดยไม่ทำลาย โดยศูนย์ฝึกอบรม (Training Center) ทำหน้าที่ในการจัดฝึกอบรมให้ภาคความรู้ ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยเฉพาะทักษะและความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานตรวจสอบจำเป็นต้องมีชิ้นงานทดสอบที่มีคุณภาพ ชิ้นงานเชื่อมที่ใช้ในการฝึกปฏิบัติเป็นตัวแปรสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยเพิ่มพูนและเสริม
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
สรุปเทคโนโลยี ชิ้นงานเชื่อมสำหรับตรวจสอบแบบไม่ทำลาย ประกอบด้วย ชิ้นงานเชื่อมที่สร้างจุดบกพร่องในแนวเชื่อม จำนวน 14 ชิ้น บรรจุอยู่ในกล่องพลาสติกเอนกประสงค์ เพื่อใช้เป็นชิ้นงานสำหรับฝึกภาคปฏิบัติการตรวจสอบแบบไม่ทำลายในวิธีการต่างๆดังนี้ ในหลักสูตรการฝึกอบรม การตรวจสอบด้วยสารแทรกซึม (Penetrant Testing) การตรวจสอบด้วยสนามแม่เหล็ก (Magnetic Particle Testing) การตรวจสอบด้วยภาพถ่ายรังสี (Radiographic Testing)และการตรวจสอบด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasonic Testing) โดยชิ้นงานสำหรับตรวจสอบแบบไม่ทำลายมีรูปร่างลักษณะเป็นชิ้นงานเชื่อมแบบรอยต่อชน(Butt Weld Joint) ทำจากวัสดุเหล็กกล้าคาร์บอน ขนาด 80X175X9 มม. และชิ้นงานเชื่อมแบบรอยต่อฟิลเลท(Fillet Weld Joint) ทำจากวัสดุเหล็กกล้าคาร์บอน ขนาด 80X80X9 มม.
จุดเด่นเทคโนโลยี สามารถควบคุมตำแหน่งและขนาดของจุดบกพร่องได้ สามารถทำซ้ำช่วยให้ต้นทุนการผลิตต่ำ สามารถตรวจสอบได้ทุกวิธี อาทิ การตรวจสอบด้วยสารแทรกซึม การตรวจสอบด้วยอนุภาคแม่เหล็ก การตรวจสอบด้วยภาพถ่ายรังสีและการตรวจสอบด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง และสามารถขึ้นทะเบียนบัญชีนวัตกรรมได้
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับ pilot scale ได้ถูกทดสอบในสภาวะทำงานจริง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
นายสมศักดิ์ ปามึก
โทรศัพท์ 02-555-2000 ต่อ 2504
โทรศัพท์มือถือ 089+1298541
Email somsak.p@tfii.kmutnb.ac.th
สถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "ชุดชิ้นงานเชื่อมสำหรับตรวจสอบแบบไม่ทำลาย"