สวิตช์สัมผัสจากหมึกนำไฟฟ้า
นักวิจัย  
อดิสร เตือนตรานนท์
อัศวพงษ์ ทรัพย์พัฒน์
ชาคริต ศรีประจวบวงษ์
ณัฐพล วัฒนวิสุทธิ์

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
 
สถานภาพสิทธิบัตร
อยู่ระหว่างยื่นคำขอ
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
กราฟีน (graphene) เป็นวัสดุใหม่ที่มีคุณสมบัติพิเศษหลายประการ เช่น แข็งแกร่ง นำไฟฟ้าและความร้อนได้ดีที่สุดในโลก ขณะเดียวกันก็มีความยืดหยุ่น โปร่งแสง และยังสามารถป้องกันการผ่านของก๊าซต่างๆ ได้อย่างดี จนนักวิจัยผู้ค้นพบกราฟีนได้รับรางวัลโนเบลในปี 2010 ต่อมาทีมนักวิจัยจากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ภายใต้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้ประยุกต์และสังเคราะห์กราฟีนผสมลงในหมึกนำไฟฟ้าสำหรับการพิมพ์อุปกรณ์ต่างๆ สำเร็จได้ระดับหนึ่ง หมึกที่ได้เป็นหมึกสำหรับใช้กับเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ต สำหรับพิมพ์ลายไฟฟ้าตามต้องการลงบนกระดาษพิเศษหรือพลาสติก

สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
สวิตช์แบบสัมผัสถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ด้วยความสามารถและคุณสมบัติของวัสดุในยุคปัจจุบันทำให้มีการออกแบบสวิตช์แบบสัมผัสในรูปแบบที่มีความแปลกใหม่และยังสามารถผลิตได้ในราคาที่ถูกลงอย่างมาก การนำหมึกนำไฟฟ้ามาใช้งานทดแทนโลหะในส่วนที่เป็นส่วนสัมผัสอยู่เดิมนั้นช่วยให้มีการพัฒนาสวิตช์สัมผัสในรูปแบบที่หลากหลายการใช้งานมากยิ่งขึ้นอีกทั้งด้วยคุณสมบัติเด่นของหมึกนำไฟฟ้านั้นทำให้วัสดุที่ใช้งานสามารถโค้งงอได้ตามต้องการ นั่นจึงเป็นเหตุผลสำคัญประการหนึ่งในการพัฒนารูปแบบสวิตช์สัมผัสด้วยหมึกนำไฟฟ้านี้ขึ้น
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
คุณศศิน เชาวนกุล
โทรศัพท์ 0 2564 7000 ต่อ 1324
Email sasin.chaowanakul@tmc.nstda.or.th
งานธุรกิจทรัพย์สินทางปัญญา สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO)

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "สวิตช์สัมผัสจากหมึกนำไฟฟ้า"