สารสีไฟโคบิลิโปรตีนทนร้อนเพื่อใช้เป็นสีย้อมผมปลอดภัย
นักวิจัย  
ผศ.ดร.ชยากร ภูมาศ
ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
 
สถานภาพสิทธิบัตร
สิทธิบัตร เลขที่ 1501007917
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ไฟโคบิลิโปรตีน (phycobiliproteins, PBPs) คือรงควัตถุรอง (accessory pigment) ที่พบในไซยาโนแบคทีเรียและสาหร่ายสีแดงหลายชนิด ทำหน้าที่ในการดูดกลืนพลังงานแสงในช่วงที่คลอโรฟิลล์ดูดกลืนไม่ได้ เพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานเคมีและนำไปใช้ในการสร้างอาหารภายในเซลล์ ปัจจุบัน PBPs ถูกนำมาประยุกต์ใช้เป็นสารสีในอาหาร เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เครื่องสำอาง รวมถึงใช้เป็นสารออกฤทธิ์เภสัชกรรมเนื่องจากมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ยับยั้งการเจริญของเชื้อไวรัส ป้องกันการเกิดอนุมูลอิสระ เสริมสร้างการทำงานของเซลล์ตับและเซลล์ประสาท เนื่องจากความหลากหลายในการประยุกต์ใช้รงควัตถุกลุ่มไฟโคบิลิโปรตีนจึงทำให้ห้องปฏิบัติการวิจัยสาหร่ายประยุกต์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวข้องกับการศึกษาและคัดแยกสาหร่ายและไซยาโนแบคทีเรียจากแหล่งที่อยู่อาศัยต่างๆ ทั่วประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง โดยไซยาโนแบคทีเรียน้ำพุร้อน Leptolyngbya sp. KC45 มีประสิทธิภาพในการผลิตไฟโคบิลิโปรตีนชนิดไฟโคอีริธรินเป็นรงควัตถุหลักในการสังเคราะห์ด้วยแสงจำนวนมาก จึงมีนำ PBPs มาประยุกต์ใช้เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
เป็นสารสีที่มีความปลอดภัย สามารถรับประทานได้ มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ทนอุณหภูมิได้สูงกว่าสารสีกลุ่มเดียวกันที่มีอยู่ในท้องตลาดทำให้สามารถประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์ที่ต้องผ่านความร้อน นอกจากนี้ยังสามารถเรืองแสงฟลูออเรสเซนต์ทำให้สามารถนำไปประยุกต์ได้หลากหลาย หรือหากทำให้บริสุทธิ์จะสามารถเป็นสีย้อมทางการแพทย์ได้
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
น.ส. ปานลดา วุฒิรัตน์
โทรศัพท์ 053-948671 ต่อ 0
โทรศัพท์มือถือ 095-1459555
Email licensing@step.cmu.ac.th
ฝ่ายพัฒนาธุรกิจนวัตกรรม อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "สารสีไฟโคบิลิโปรตีนทนร้อนเพื่อใช้เป็นสีย้อมผมปลอดภัย"