การเพิ่มประสิทธิภาพสมุนไพรโดยเทคโนโลยีพลาสมา |
|
นักวิจัย |
|
ดร.กีรติญา จันทร์ผง
ดร.สุรีย์พร สราภิรมย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
|
|
|
สถานภาพสิทธิบัตร |
องค์ความรู้ |
|
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา |
ตลาดสมุนไพรมีมูลค่ากว่าแสนล้านบาท มีการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการคาดการณ์ว่าจะโตขึ้นราว 10% ต่อปี แต่ปี 2560 โตขึ้นถึงกว่า 30% รัฐหนุนตลาดสมุนไพร และตั้งเป้าโตเพิ่ม 15% ต่อปี ดันมูลค่าเศรษฐกิจแตะ 3.2 แสนล้านในปี 64 ชู 4 สมุนไพรแชมเปี้ยน ได้แก่ กระชายดำ ไพล บัวบก และขมิ้นชัน ทั้งนี้จุดอ่อนที่สำคัญต่อการส่งออกสินค้าประเภทสมุนไพรเหล่านี้คือการขาดองค์ความรู้ในการสกัดสารสำคัญออกจากสมุนไพร โดยเฉพาะขมิ้นชันทำได้เพียงมีการส่งออกในรูปแบบผงเท่านั้น ทั้งที่ขมิ้นชันนั้นเป็นน่าสนใจในการพัฒนาต่อยอดต่อไป แต่อุปสรรคที่สำคัญของตัวขมิ้นชันเองนั้นคือ มีความสามารถในการทำละลายได้น้อย การออกฤทธิ์ของสารสำคัญต่ำเมื่อเทียบกับปริมาณที่ได้รับไป ทำให้ต้องใช้ในปริมาณที่มาก ผลิตภัณฑ์ของเรานั้นจึงได้นำเอาเทคโนโลยีพลาสมามาสร้างนวัตกรรมใหม่ให้กับตัวสมุนไพรไทย เพื่อเป็นการสร้างมูลค่าและศักยภาพเพื่อการส่งออก โดยใช้เทคนิคพลาสมามาช่วยเพิ่มการออกฤทธิ์ของตัวยาสำคัญในขมิ้นชันได้ดีขึ้น |
|
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี |
การเพิ่มขีดความสามารถของสารสกัดสมุนไพร ไม่ว่าจะเชิงคุณภาพและปริมาณที่มากขึ้น โดยผนวกกับเทคโนโลยีพลาสมาที่มีทิศทางการนำมาประยุกต์ใช้งานทางด้านการเกษตร อาหารและทางการแพทย์มากขึ้น เนื่องจากเทคนิคพลาสมานั้นเป็นเทคนิคที่สะอาด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีใช้สารเคมีน้อย สามารถทำการฆ่าเชื้อได้ดี อีกทั้งยังช่วยเพิ่มพื้นผิวให้กับวัสดุได้อีกด้วย ทั้งนี้จากงานวิจัยที่ผ่านมาการใช้เทคนิคพลาสมานั้น จะเข้ามาลดการใช้สารเคมีในขั้นตอนการผลิต โดยพลาสมานั้นจะเข้าไปเพิ่มพื้นผิวให้กับตัวยาสมุนไพรทำให้ในขั้นตอนการสกัดสารสำคัญนั้นจะทำให้ตัวยาสมุนไพรนั้นสามารถทำละลายได้ดีขึ้น อีกทั้งยังสามารถเพิ่มปริมาณของสารสกัดให้มีปริมาณมากขึ้น และลดระยะเวลาของการบวนการผลิตให้น้อยขึ้น เป็นการลดการใช้ตัวทำละลาย และระยะเวลาการสกัดสารลง โดยเทคโนโลยีนี้สามารถประยุกต์ใช้กับพืชหรือสมุนไพรได้หลายชนิด |
|
ความร่วมมือที่เสาะหา |
เสาะหาผู้ร่วมวิจัยพัฒนา |
|
สถานภาพของผลงานวิจัย |
ได้ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ |
|
|
เงื่อนไข |
เทคโนโลยีต่อรองราคา |
|
สนใจสอบถามข้อมูล |
นางสาวนิตยา ถาวัน |
โทรศัพท์มือถือ |
0898542296 |
Email |
ann.mjubi@gmail.com |
สถาบันบ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ | |
|
คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "การเพิ่มประสิทธิภาพสมุนไพรโดยเทคโนโลยีพลาสมา"
|
|