สารสกัดผลหม่อนในรูปแบบไฟโตโซม (phytosome) |
นักวิจัย |
|
รศ.จินตนาภรณ์ วัฒนธร และคณะ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
|
|
สถานภาพสิทธิบัตร |
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 1803000744 |
|
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา |
ผลหม่อนสุกมีสารที่สำคัญคือแอนโทไซยานิน (anthocyanin) อยู่มาก โดยสารแอนโทไซยานินจะมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญปัจจัยหนึ่งในการทำให้เกิดพยาธิสภาพต่อระบบประสาท รวมทั้งทำให้เกิดการตายของเซลล์ประสาท มีการศึกษาพบว่าสารสกัดผลหม่อนมีศักยภาพเพิ่มการเรียนรู้และความจำได้ และยังมีผลปกป้องสมอง ทำให้ปริมาตรสมองขาดเลือดลดลง ลดการตายของเซลล์ประสาท
แต่ผลหม่อนเป็นพืชที่ออกตามฤดูกาลและมีระยะเวลาการเก็บเกี่ยวผลผลิตที่สั้น ระยะเวลาในการเก็บรักษาผลหม่อนสดโดยที่คุณภาพของผลหม่อนยังคงเดิมจึงมีระยะเวลาสั้นเก็บได้ไม่นาน ดังนั้นการแปรรูปผลหม่อนเพื่อคงคุณภาพและเพิ่มมูลค่าจึงเป็นสิ่งสำคัญ
ดังนั้น ผู้ผลิตจึงได้พัฒนาสารสกัดผลหม่อนในรูปแบบไฟโตโซม (phytosome) และกรรมวิธีการผลิตแบบใหม่โดยการนำเทคโนโลยีการเอนแคปซูเลชันมาประยุกต์ใช้ ทำให้ได้สารสกัดไฟโตโซมที่มีลักษณะเป็นอนุภาคทรงกลมที่มีแกนกลางเป็นสารสกัผลหม่อนและห่อหุ้มผิวด้านนอกด้วยฟอส-ฟาติดิลโคลีนที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 50-300 นาโนเมตร ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพจากสารสกัดผลหม่อนให้มีความคงคุณภาพของผลหม่อน อยู่ในรูปแบบพร้อมรับประทาน |
|
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี |
• สามารถนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับป้องกันและรักษาอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นในโรคอ้วนร่วมกับโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดได้
• มีผลการทดลองในระดับห้องทดลอง พบว่ามีปริมาณสารสำคัญสูง ได้แก่ สารประกอบฟีนอล ฟลาโวนอยด์ แทนนิน กรดแกลลิก และไซยานิดีน-กลูโคไซด์
• เมื่อนำไปทดสอบเปรียบเทียบกับสารสกัดจากผลหม่อนธรรมดาพบว่ามีค่าความคงตัวของฤทธิ์ทางชีวภาพมากกว่าอย่างน้อย 3 เดือน |
|
ความร่วมมือที่เสาะหา |
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ |
|
สถานภาพของผลงานวิจัย |
ได้ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ |
|
|
เงื่อนไข |
เทคโนโลยีต่อรองราคา |
|
สนใจสอบถามข้อมูล |
จินดาพร พลสูงเนิน |
โทรศัพท์ |
043-202-733 ต่อ 42134 |
โทรศัพท์มือถือ |
086-451-4455 |
ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยขอนแก่น | |
|
คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "สารสกัดผลหม่อนในรูปแบบไฟโตโซม (phytosome)"
|
|