ระบบเลือกตั้งบนบล็อกเชน (Blockchain) |
นักวิจัย |
|
ศ.ดร.อาณัติ ลีมัคเดช และคณะ ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาและบ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
|
|
สถานภาพสิทธิบัตร |
องค์ความรู้ |
|
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา |
ระบบเลือกตั้งอิเล็กทรอนิกส์แบบดั้งเดิมเป็นระบบแบบรวมศูนย์ ข้อมูลการลงคะแนนจะส่งมายังเครื่องแม่ข่ายส่วนกลาง ทำให้มีความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล อาจเกิดปัญหาการโจมตีระบบหรือแก้ไขข้อมูล เพื่อเปลี่ยนแปลงผลการลงคะแนนได้ เช่น การทดลองโจมตีระบบการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ในงาน DefCon Computer Security Conference 2018 ซึ่งใช้เวลาเพียง 90 นาทีก็สามารถ Hack ระบบเลือกตั้งได้ คณะนักวิจัยได้ศึกษาการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) กับการเลือกตั้ง โดยเริ่มพัฒนาระบบเลือกตั้งผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ตัดสินกีฬาบนบล็อกเชนให้กับกรมพลศึกษา พบว่าระบบเลือกตั้งบนบล็อกเชนสามารถรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลได้ดีกว่าระบบเลือกตั้งแบบดั้งเดิม เนื่องจากการจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายบนเครือข่ายบล็อกเชน มีข้อดีในการรักษาความถูกต้องเที่ยงตรงของข้อมูล (Data Integrity) ยากต่อการเปลี่ยนแปลงแก้ไข ผู้ลงคะแนนสามารถตรวจสอบผลการโหวตของตน และยังคงรักษาความลับในการโหวตของตนไว้ด้วย ทำให้การเลือกตั้งมีความโปร่งใส น่าเชื่อถือ ทั้งยังประยุกต์ใช้ได้กับการเลือกตั้งหรือลงประชามติในทุกระดับ ทุกหน่วยงานอีกด้วย |
|
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี |
เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) คือ ระบบฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distributed Ledger) จัดเก็บข้อมูลในลักษณะ Block เชื่อมต่อกัน ข้อมูลจะถูกสำรองและตรวจสอบความถูกต้อง (Consensus) จากสมาชิกในเครือข่ายแล้วจัดเก็บกระจายตาม Node ต่าง ๆ โดยไม่ต้องอาศัยตัวกลาง เมื่อข้อมูลถูกยอมรับบนระบบแล้วไม่สามารถแก้ไขได้ และด้วยกลไกในการตรวจสอบเพื่อสร้างชุดข้อมูลใหม่ ทำให้ยากในการสร้างข้อมูลเท็จ
จุดเด่นเทคโนโลยี
เทคโนโลยีบล็อกเชนเหมาะกับการพัฒนาระบบเลือกตั้ง ทำให้ข้อมูลการลงคะแนนมีความถูกต้อง ปลอดภัย ผู้ลงคะแนนมั่นใจได้ว่าข้อมูลที่ตนโหวตให้ผู้สมัครจะไม่ถูกเปิดเผย และไม่ถูกแก้ไขเพื่อเอื้อประโยชน์ให้ผู้สมัครคนใดคนหนึ่ง ยากต่อการปลอมแปลงหรือสวมสิทธิ์แทนบุคคลอื่น สร้างความโปร่งใส และน่าเชื่อถือให้กับการเลือกตั้ง ทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจัดการเลือกตั้ง สะดวกต่อผู้ลงคะแนน โดยสามารถโหวตผ่านระบบจากทุกที่ที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ ซึ่งอาจช่วยให้จำนวนผู้ใช้สิทธิลงคะแนนเพิ่มขึ้นด้วย |
|
ความร่วมมือที่เสาะหา |
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ |
|
สถานภาพของผลงานวิจัย |
ได้ต้นแบบระดับ pilot scale |
|
|
เงื่อนไข |
เทคโนโลยีต่อรองราคา |
|
สนใจสอบถามข้อมูล |
ศ.ดร.อาณํติ ลีมัคดเช |
โทรศัพท์ |
025644440 ต่อ 1664 |
โทรศัพท์มือถือ |
0818596955 |
ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาและบ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
|
คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "ระบบเลือกตั้งบนบล็อกเชน (Blockchain)"
|
|