น้ำมันสำหรับทอดน้ำมันท่วม
นักวิจัย  
ดร. ศศิกานต์ กู้พงษ์ศักดิ์
รศ.ดร.พันธิพา จันทวัฒน์
รศ.ดร.สุเมธ ตันตระเธียร

ภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 
สถานภาพสิทธิบัตร
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 7700 เรื่อง น้ำมันบริโภคชนิดผสมระหว่างน้ำมันปาล์มโอเลอินส์กับน้ำมันเมล็ดฝ้าย
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 7866 เรื่อง น้ำมันบริโภคชนิดผสมระหว่างน้ำมันรำข้าวกับน้ำมันทานตะวัน
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 7867 เรื่อง น้ำมันบริโภคชนิดผสมระหว่างน้ำมันรำข้าว น้ำมันเมล็ดฝ้าย และน้ำมันถั่วเหลือง
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
การทอดเป็นรูปแบบการปรุงอาหารที่นิยมในอาหารหลายประเภท เช่น กล้วยทอด ไก่ทอด มันฝรั่งทอด ปลาทอด และ ทอดมัน เป็นต้น น้ำมันพืชที่นิยมใช้ตามทอดตามครัวเรือนมักไม่เสถียร เหม็นหืนง่าย เมื่อนำมาใช้ทอดอาหารแบบน้ำมันท่วมที่อุณหภูมิสูงเป็นเวลานาน ทำให้น้ำมันเปลี่ยนสภาพโครงสร้างเกิดสารประกอบโพลาร์ ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง รวมถึงการเกิดโครงสร้างไขมันทรานส์ ทำให้การบริโภคของทอดเป็นประจำนั้นก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาในอนาคต อย่างไรก็ตามการหันมาใช้น้ำมันจากสัตว์อาจหลีกเลี่ยงปัญหาที่พบจากการใช้น้ำมันพืชได้ แต่ก็พบปัญหาไขมันอิ่มตัวและไตรกลีเซอไรด์สูง จึงส่งผลเสียต่อสุขภาพได้เช่นกัน
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
เป็นการนำน้ำมันบริโภคชนิดต่างๆ ได้แก่ น้ำมันรำข้าว น้ำมันทานตะวัน น้ำมันเมล็ดฝ้าย น้ำมันถั่วเหลือง และน้ำมันปาล์มโอเลอินส์ มาจัดสัดส่วนองค์ประกอบของไขมันในอัตราส่วนที่เหมาะสม เพื่อลดข้อด้อยของน้ำมันบางประเภทและเสริมคุณประโยชน์ของน้ำมันบาง โดยผลวิจัยพบสูตรน้ำมันที่สามารถใช้ทอดอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตในปริมาณสูงที่อุณหภูมิ 180 องศาเซลเซียส อีกทั้งยังมีคุณค่าทางโภชนาการในเกณฑ์ดี
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบระดับ pilot scale
เงื่อนไข
เทคโนโลยีราคาเดียว
สนใจสอบถามข้อมูล
เจ้าหน้าที่พัฒนาธุรกิจ (คุณสิริรัตน์ เพ็ญศิริกุล)
โทรศัพท์ 02-218-4195-97
Email cuipi@chula.ac.th
สถาบันทรัพย์สินทางปัญญาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "น้ำมันสำหรับทอดน้ำมันท่วม"