มณฑารพ-ข้าวตอกหอม
นักวิจัย  
ศ.ดร.สนอง เอกสิทธิ์
นางสาวลลิตา คนหาญ นิสิตปริญญาโท

สังกัดภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 
สถานภาพสิทธิบัตร
อยู่ระหว่างยื่นคำขอ
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
เกษตรกรไทยมีศักยภาพในการผลิตข้าวเพื่อส่งออกลำดับต้นๆของโลก จากข้อมูลการส่งออกในปี พ.ศ. 2557 ของสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย ประเทศไทยส่งออกข้าวสูงถึง 7.5 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 4,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ในขณะเดียวกัน ยังมีการแข่งขันจากประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้เกิดการตัดราคาข้าว ส่งผลให้เกิดความผันผวนของราคาข้าว ในขณะที่ความต้องการบริโภคข้าวของประชากรโลกยังคงที่หรือเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ส่งผลให้เกิดปัญหาข้าวล้นตลาด ข้าวที่ขายไม่ออกกลายเป็นข้าวเก่าค้างสต็อก ซึ่งข้าวเหล่านี้กลายเป็นข้าวด้อยคุณภาพและเกิดความเสียหายจากการเก็บสต็อก นอกจากปัญหาเรื่องความผันผวนของราคาแล้ว เกษตรกรมักประสบปัญหาอื่นๆในการผลิตข้าว เช่น ความชื้นสูงในข้าวหลังการเก็บเกี่ยว ข้าวถูกแมลงทำลายระหว่างการเก็บรักษา เป็นต้น ซึ่งเกษตรกรเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง
ผู้วิจัยเล็งเห็นถึงปัญหาของผลกระทบข้างต้นต่อเกษตรกร และมีแนวคิดว่า การแปรรูปข้าวเปลือกให้เป็นผลิตภัณฑ์นวัตกรรมเชิงพาณิชย์มูลค่าสูงที่มีบทประยุกต์หลากหลายโดยไม่จำเป็นต้องนำไปรับประทานเพียงอย่างเดียว จึงน่าจะเป็นแนวทางการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน การแปรรูปข้าวเปลือกให้เป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงนี้ยังเป็นการเพิ่มความต้องการการบริโภคข้าวของกลุ่มประชากรที่ไม่ได้บริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก ซึ่งจะส่งผลให้มีความต้องการผลิตภัณฑ์จากข้าวอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
มณฑารพทำจากข้าวตอกที่มีโครงสร้างเป็นรูพรุนต่อเนื่องขนาด 80-100 ไมโครเมตร นำมากักเก็บน้ำมันหอมระเหย เพื่อปลดปล่อยกลิ่นอย่างช้าๆ ส่งกลิ่นหอมยาวนานกว่า 30 วัน สามารถนำไปใช้ในห้องนอน ห้องนั่งเล่น ห้องรับแขก ห้องทำงาน ห้องน้ำ ห้องทำงาน ตู้เสื้อผ้า กระเป๋า รถยนต์ เป็นต้น ผลิตภัณฑ์มณฑารพที่ผลิตขึ้นมามีสองรูปแบบ ได้แก่ แบบซองและแบบตลับ
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีราคาเดียว
สนใจสอบถามข้อมูล
เจ้าหน้าที่พัฒนาธุรกิจ (คุณสิริรัตน์ เพ็ญศิริกุล, คุณธัชชัย หงส์ยั่งยืน)
โทรศัพท์ 02-218-4195-97
Email cuipi@chula.ac.th
สถาบันทรัพย์สินทางปัญญาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "มณฑารพ-ข้าวตอกหอม"