ชุดตรวจวัดคุณภาพน้ำ
นักวิจัย  
รศ.ดร.นิคม ชัยศิริ
รศ.สพ.ญ.ดร.มีนา สาริกะภูติ
ผศ.สพ.ญ.ดร.ศิรกานต์ ฐิตวัฒน์
อ.น.สพ.ดร.ประพฤติดี ปิยะวิริยะกุล
ผศ.สพ.ญ.ดร.กรรณาภรณ์ สุริยผล
ผศ.น.สพ.ดร.ทนง อัศวกาญจน์
ผศ.สพ.ญ.ศริยา อัศวกาญจน์
นส.สุจินต์ ศิริสวัสดิ์
หน่วยชีวเคมี คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 
สถานภาพสิทธิบัตร
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 3825 เรื่อง ชุดทดสอบแอมโมเนียม
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 4476 เรื่อง ชุดทดสอบความเป็นกรดด่าง
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 4477 เรื่อง ชุดทดสอบความเป็นด่าง
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 4695 เรื่อง ชุดทดสอบไนไตรต์
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ในปี 2541 เกิดการระบาดครั้งใหญ่ของโรคดวงขาวในกุ้งเลี้ยง สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการระบาดคือกุ้งอ่อนแอเนื่องจากน้ำที่เลี้ยงมีคุณภาพไม่เหมาะสม คณะสัตวแพทยศาสตร์ฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้มอบหมายให้หน่วยชีวเคมีผลิตชุดตรวจคุณภาพน้ำที่ดี ราคาไม่แพง และใช้งานง่ายกว่าที่มีอยู่ในท้องตลาด
หน่วยชีวเคมี คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ (Veterinary Biochemistry Unit, VBC) จึงได้ตั้งโครงการตรวจวัดคุณภาพน้ำขึ้นตั้งแต่ปี 2542 โดยวัตถุประสงค์ของโครงการ คือ การผลิตชุดทดสอบคุณภาพน้ำที่เที่ยงตรง ใช้ง่ายและประหยัด เพื่อช่วยให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำสามารถตรวจวัดคุณภาพของน้ำได้ง่ายๆและทุกๆวัน ซึ่งจะทำให้ผู้เลี้ยงประเมินสภาพการเลี้ยงของตนและเตรียมการแก้ไขก่อนเกิดปัญหา ทั้งยังคงต้นทุนการผลิตเอาไว้
ปัจจุบัน หน่วยชีวเคมีได้ผลิตชุดตรวจคุณภาพน้ำให้กับเกษตรกรทั้งสิ้น 14 รายการ ได้แก่ pH, GH, pH และ GH สำหรับปลาสวยงาม, ความเป็นด่าง, ความกระด้าง, ออกซิเจนที่ละลายน้ำ, แอมโมเนีย, คลอรีน, แคลเซียม, แมกนีเซียม, ซัลไฟด์, ไนไตรต์ และ ฟอสเฟต
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
ชุดทดสอบคุณภาพน้ำ ที่เที่ยงตรง ใช้ง่าย และ ประหยัด
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีราคาเดียว
สนใจสอบถามข้อมูล
ธัชชัย หงส์ยั่งยืน
โทรศัพท์ 022184195
Email cuipi.ipi@gmail.com
สถาบันทรัพย์สินทางปัญญาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "ชุดตรวจวัดคุณภาพน้ำ"