เนยถั่วลิสงงาดำ (Peanut – sesame butter) |
นักวิจัย |
|
ผศ.ดร.เอกสิทธิ์ อ่อนสอาด
ผศ.ดร.วิริยา อ่อนสอาด มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
|
|
สถานภาพสิทธิบัตร |
อยู่ระหว่างยื่นคำขอ |
|
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา |
เนยถั่วลิสงเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมบริโภคกันในต่างประเทศโดยเฉพาะในอเมริกันเนื่องจากมีคุณค่าทางโภชนาการสูง เนยถั่วลิสงเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถเก็บรักษาไว้ได้นานและสะดวกในการบริโภค เนื่องจากเนยถั่วนั้นเป็นอาหารที่มีปริมาณไขมันสูง ทว่าไขมันที่พบกลับเป็นไขมันชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกาย เนื่องจากเป็นไขมันชนิดไม่อิ่มตัว มีปริมาณโพแทสเซียม โปรตีน ไฟเบอร์ สูง อย่างไรก็ตามถึงแม้ในเนยที่มีประโยชน์ทางโภชนาการสูงแล้วนั้นแต่ก็ยังมีส่วนที่ขาดหายไปหรือในถั่วลิสงไม่มี เช่น วิตามินบีรวม โอเมก้า 3-6-9 วิตามินอี สารเซซามิน สารเซซาโมลิน และสารเซซามอล รวมทั้งกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกายโดยเฉพาะ เมทไธโอนีน ที่พบได้เฉพาะในเมล็ดงา ดั้งนั้นเพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์เนยถั่วลิสงโดยการผสมงาในการเพิ่มปริมาณสารอาหารอาหารและช่วยลดความเลี่ยนมันที่เกิดขึ้นในผลิตภัณฑ์เนยถั่วลิสงอย่างเดียว จะมีผลทำให้ผู้บริโภคได้รับคุณค่าทางโภชนาการสูงขึ้น |
|
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี |
เนยถั่วลิสงที่มีลักษณะมีเอกลักษณ์สีดำของงา กลิ่นหอมของถั่วลิสงและงา ผลิตภัณPeanut – sesame butter ยังให้ค่าพลังงานและโปรตีนที่สูง เหมาะสมสำหรับผู้ที่ต้องการพลังงาน |
|
ความร่วมมือที่เสาะหา |
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ |
|
สถานภาพของผลงานวิจัย |
ผลการทดลองระดับห้องปฏิบัติการได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นไปได้ |
|
เงื่อนไข |
เทคโนโลยีต่อรองราคา |
|
สนใจสอบถามข้อมูล |
นายณัฐนันท์ นันทะแสน |
โทรศัพท์มือถือ |
0902875363 |
Email |
nattanan.n@ubu.ac.th |
อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี | |
|
คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "เนยถั่วลิสงงาดำ (Peanut – sesame butter)"
|
|