แอปพลิเคชันแอลดีคีย์บอร์ด สำหรับบุคคลที่บกพร่องทางการเรียนรู้” (LD Keyboard Application on Android)
นักวิจัย  
ดร.อรอินทรา ภู่ประเสริฐ
นางสาวณัชชา สาทสุทธิ
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1801001291 ยื่นคำขอวันที่ 2 มีนาคม 2561
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED) เห็นว่าปัญหาความบกพร่องทางการเรียนรู้เป็นปัญหาสำคัญที่ลดทอนศักยภาพของคนไทยที่ทำให้เกิดปัญหาค่าเฉลี่ยการรู้หนังสือของคนไทยต่ำ และเกิดปัญหาสังคม การว่างงาน กระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ข้อมูลการศึกษาวิจัยในปี 2562 โดย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ สำรวจพบว่าประเทศไทยมีนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้อยู่จำนวน 349,753 คน ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีการพัฒนาเครื่องมือที่เหมาะสมเข้ามาช่วยเหลือ ศูนย์ฯ เห็นความสำคัญในการช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มนี้จึงได้ดำเนินการศึกษาสำรวจเทคโนโลยีที่จะนำมาช่วยเสริมศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียนที่บกพร่องทางการเรียนรู้ คณะผู้วิจัยของศูนย์ฯ ได้ศึกษาเพิ่มเติมเพื่อที่จะออกแบบ กำหนดฟังก์ชันของเครื่องมือที่จะนำไปใช้เพื่อช่วยเสริมการเรียนรู้ การทำงานของนักเรียนที่บกพร่องทางการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
จากข้อมูลเบื้องต้นดังกล่าว ศูนย์ฯ ประสงค์จะพัฒนาเครื่องมือเพื่อช่วยในการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้าน การอ่าน การเขียน กระบวนการคิดและการคิดคำนวณ จึงได้มีแผน
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
แอปพลิเคชันแอลดีคีย์บอร์ด เป็นผลิตภัณฑ์สิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อเอื้อประโยชน์ในการใช้งานให้กับบุคคลหรือนักเรียนที่บกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการเขียน เป็นแอปพลิเคชันที่ช่วยแก้ปัญหาการพิมพ์ผิดของบุคคลที่บกพร่องทางการเรียนรู้ ทำงานเสมือนคีย์บอร์ดภาษาไทยบนสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์

จุดเด่นของแอปพลิเคชันแอลดีคีย์บอร์ด คือสามารถแก้ไขคำผิดที่เป็นการพิมพ์ผิดแบบบกพร่องทางการเรียนรู้ซึ่ง แอปพลิเคชันคีย์บอร์ดปัจจุบันยังไม่สามารถทำได้
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับ pilot scale ได้ถูกทดสอบในสภาวะทำงานจริง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
ฝ่ายกลยุทธ์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี (ฺSPD) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
โทรศัพท์ 0 2564 6900 ต่อ 2346, 2351-53, 2357, 2383
Email business@nectec.or.th

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "แอปพลิเคชันแอลดีคีย์บอร์ด สำหรับบุคคลที่บกพร่องทางการเรียนรู้” (LD Keyboard Application on Android)"