อนุภาคไลโพโซมดัดแปลงด้วยพอลิเมอร์เพื่อกักเก็บโปรตีนซิริซินสำหรับผลิตภัณฑ์เวชสำอาง
นักวิจัย  
ดร.สุวิมล สุรัสโม
ดร.ธงชัย กูบโคกกูด
นายคุณัช สุขธรรม
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
 
สถานภาพสิทธิบัตร
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 10936
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาอนุภาคไลโพโซมด้วยสารสังเคราะห์ชีวภาพเพื่อช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและเพิ่มความคงตัวของของอนุภาคนาโนไลโพโซม อีกทั้งต้องการเพิ่มคุณสมบัติความสามารถการกักเก็บ ช่วยปกป้องคุณสมบัติของสารสำคัญ และการนำส่งสารที่กักเก็บเข้าสู่ผิวหนังด้วยระบบของไลโพโซมได้ดีขึ้น สารสำคัญที่นำมาใช้เป็นต้นแบบในการกักเก็บนี้คือสารสกัดโปรตีนที่ได้จากน้ำต้มกาวไหมที่เหลือทิ้ง โปรตีนซิริซิน (sericin) หรือโปรตีนน้ำกาวไหม ที่ได้จากการต้มรังไหมสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ทั้งในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางและในทางการแพทย์ ด้วยคุณสมบัติที่หลากหลายของโปรตีนซิริซิน ทั้งฤทธิ์ในการต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดเลือนริ้วรอย ช่วยกระตุ้นการเจริญของเซลล์ผิวหนัง เพิ่มความชุ่มชื้นที่ผิวหนัง และฤทธิ์ในการช่วยรักษาบาดแผล เป็นต้น
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
การพัฒนาโครงการสร้างของอนุภาคนาโนไลโพโซม เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและความคงตัวให้กับอนุภาคไลโพโซมด้วยสารพอลิเมอร์ที่ย่อยสลายได้เพื่อการกักเก็บสารสำคัญ โดยงานวิจัยนี้ นำโปรตีนซิริซินมากักเก็บในอนุภาคนาโนไลโพโซมที่มีการดัดแปลงโครงสร้างด้วยสารพอลิเมอร์ เพื่อช่วยปกป้องคุณสมบัติและยืดอายุของโปรตีนซิริซินที่ใช้เป็นสารออกฤทธิ์ ให้มีความคงทนอยู่ได้นานยิ่งขึ้น นำมาผ่านกระบวนการอบแห้งแบบพ่นฝอย (spray dry) เพื่อได้เป็นผงแห้งเพื่อให้เหมาะสมและสะดวกกับการนำไปประยุกต์ในเวชสำอางค์และเภสัชภัณฑ์ จากผลการทดลงองพบว่า อนุภาคไลโพโซมดัดแปลงที่กักเก็บโปรตีนซิริซินแล้วนั้นมีขนาดของอนุภาคอยู่ในระดับ 200 – 250 นาโนเมตร จากการศึกษาการควบคุมการปลดปล่อยสารออกฤทธิ์จากอนุภาคไลโพโซมดัดแปลงด้วยสารละลายที่มีค่าความเป็นกรดด่าง ใกล้เคียงผิวหนัง (pH 5.5) พบว่า โปรตีนซิริซินที่ถูกกักเก็บอยู่ในอนุภาคนาโนไลโพโซมดัดแปลงสารพอลิเมอร์ชนิดต่าง ๆ ช่วยควบคุมการปลดปล่อยโปรตีนซิริซินออกจากอนุภาคนาโนดังกล่าว นอกจากนี้อนุภาคนาโนที่ผ่านกระบวนการ spray dry ยังมีความคงตัวที่ดี การเตรียมอนุภาคไลโพโซมที่ทำการกักเก็บโปรตีนซิริซินในรูปผงแห้งนี้
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
งานธุรกิจทรัพย์สินทางปัญญา สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO)
โทรศัพท์มือถือ 0 2564 7000 ต่อ 1311
Email tlo-ipb@nstda.or.th

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "อนุภาคไลโพโซมดัดแปลงด้วยพอลิเมอร์เพื่อกักเก็บโปรตีนซิริซินสำหรับผลิตภัณฑ์เวชสำอาง"