ฟิล์มนิรภัยระดับนาโนสำหรับเอกสารหรือสิ่งพิมพ์มีค่าที่ต้องการความปลอดภัยจากการถูกปลอมแปลง
นักวิจัย  
ผศ.ดร.ธอริน ธีรเดชวานิชกุล
นายอภิสิทธิ์ ศรีประดิษฐ์
ภาควิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
 
สถานภาพสิทธิบัตร
สิทธิบัตร เลขที่ 1701000206
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ปัญหาการปลอมแปลงสิ่งพิมพ์มีค่า โดยวิธีการรักษาความปลอดภัยแบบดั้งเดิมนั้นไม่เพียงพอที่จะป้องกันปัญหาให้เกิดขึ้นได้ อันจะเห็นได้จากมีงานวิจัยก่อนหน้านี้เป็นจำนวนมากที่ทำการศึกษาถึงวิธีเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ธนบัตร อย่างไรก็ตาม วิธีการที่นำเสนอมาเหล่านี้นั้น ล้วนแล้วแต่ใช้ อาร์เอฟไอดีชิพแท็ก (RFID chip tagging) ในการเพิ่มความปลอดภัยให้แก่สิ่งพิมพ์มีค่า แทบทั้งสิ้น ซึ่งอาจจะไม่สะดวกนักหากจะต้องทำการแทรกสายอากาศและชิปที่มีขนาดใหญ่หากเทียบกับความบางของสิ่งพิมพ์มีค่าลงไปอยู่ในตัวสิ่งพิมพ์มีค่านั้น ทางเลือกที่ดีกว่าในการเพิ่มความปลอดภัยสามารถทำได้โดยการหันมาใช้ตัวกำทอน ซึ่งได้มีงานวิจัยก่อนหน้านี้เป็นจำนวนมากที่ทำการศึกษาในเรื่องนี้ โดยไม่จำเป็นต้องแทรกสายอากาศและชิปที่มีขนาดใหญ่ลงไปอยู่ในตัวสิ่งพิมพ์มีค่า อาทิเช่น ธนบัตร แต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม วิธีการที่ได้นำเสนอมานี้ก็ยังไม่เพียงพอป้องกันไม่ให้เกิดปลอมแปลงได้ เนื่องจากตัวกำทอนที่ใช้สิ่งพิมพ์มีค่าเป็นแผ่นฐานเหล่านี้ยังสามารถสังเกตเห็นได้ง่ายจึงทำให้สามารถทำการปลอมแปลงได้ง่าย ซึ่งเราสามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้หากใช้กำทอนแบบสี่เหลียมในระดับนาโน
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
ฟิล์มนิรภัยระดับนาโนสำหรับเอกสารหรือสิ่งพิมพ์มีค่าที่ต้องการความปลอดภัยจากการถูกปลอมแปลง เป็นการเพิ่มความปลอดภัยแก่สิ่งพิมพ์มีค่าที่ต้องการความปลอดภัยสูงยิ่ง อาทิเช่น ธนบัตร พาสปอร์ต หนังสือเดินทาง เอกสารราชการ หรือสิ่งอื่นใดที่คล้ายคลึงกัน โดยอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยนี้จะแสดงลักษณะของสีที่สะท้อนและส่องส่งผ่านทะลุตัวเอกสารหรือสิ่งพิมพ์มีค่าที่ต้องการความปลอดภัยสูงยิ่งได้แตกต่างกันจากด้านที่อยู่ตรงกันข้ามกัน อุปกรณ์รักษาความปลอดภัยนี้มีขนาดเล็กจิ๋วในระดับนาโนเมตร เพื่อป้องกันการลอกเลียนแบบและยากแก่การทำซ้ำโดยมิได้อนุญาต
เมื่อทำการส่องสิ่งพิมพ์มีค่ากับแสงขาวซึ่งเมื่อทำการกลับด้านสิ่งที่ทั้งสองด้านจะเปลี่ยนสีสลับกันไป ซึ่งปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นมาจากปรากฏการณ์พลาสมอนบนพื้นผิวตัวกำทอนแบบวงแหวนสี่เหลี่ยม เมื่อเรามองจากอีกด้านหนึ่งของสิ่งพิมพ์มีค่าที่แสงส่องทะลุผ่านลงไป จึงทำให้พื้นผิวเลือกความถี่ผ่านโดยมีตัวกำทอนแบบวงแหวนสี่เหลี่ยมในระดับนาโนของเรานี้สามารถแสดงสีต่างกัน ณ สองด้านของสิ่งพิมพ์มีค่า เมื่อทำการส่องสิ่งพิมพ์มีค่ากับแสงขาวซึ่งเมื่อทำการกลับด้านสิ่งที่ทั้งสอ
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
ดร.หฤษฎ์ ลีละยุวพันธ์
โทรศัพท์ 02 4709626
โทรศัพท์มือถือ 0634599924
Email haris.lee@mail.kmutt.ac.th
หน่วยงานถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "ฟิล์มนิรภัยระดับนาโนสำหรับเอกสารหรือสิ่งพิมพ์มีค่าที่ต้องการความปลอดภัยจากการถูกปลอมแปลง"