ตัวเร่งปฏิกิริยาชีวภาพโปรติเอสทนร้อนที่ได้จากดีเอ็นเอลูกผสม
นักวิจัย  
ดร. นุจริน จงรุจา
นางสาว ดวงใจ สิทธิพล
นางสาว พิจิตรา แซ่เล้า
ภาควิชาจุลชีววิทยา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
 
สถานภาพสิทธิบัตร
สิทธิบัตร เลขที่ 1701006238
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ปัจจุบันตัวเร่งปฏิกิริยาชีวภาพหรือเอนไซม์ เข้ามามีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมเครื่องหนัง อุตสาหกรรมซักล้าง และอุตสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง ตัวเร่งปฏิกิริยาชีวภาพโปรติเอส เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาชีวภาพพื้นฐานที่มีความสำคัญชนิดหนึ่ง โดยมีหน้าที่เร่งปฏิกิริยาการไฮโดรไลซ์โปรตีนในบริเวณพันธะเปปไทด์ ของสายโพลีเปปไทด์ให้เป็นสายเปปไทด์ที่สั้นลง สามารถพบตัวเร่งปฏิกิริยาชีวภาพนี้ได้ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด โดยตัวเร่งปฏิกิริยาชีวภาพที่ผลิตจากเชื้อจุลินทรีย์จะผลิตได้ในปริมาณที่สูงและมีต้นทุนต่ำ ดังนั้นจึงเป็นที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมอย่างแพร่หลาย ด้วยเหตุผลนี้จึงทำให้ตัวเร่งปฏิกิริยาชีวภาพมียอดขายสูงถึงร้อยละ 60 ของยอดขายตัวเร่งปฏิกิริยาชีวภาพทั้งหมด ตัวเร่งปฏิกิริยาชีวภาพที่ได้มาจากการนำเข้านั้นมีมูลค่าที่ค่อนข้างสูง และกระบวนการการขนส่งตัวเร่งปฏิกิริยาชีวภาพอาจทำให้เกิดผลกระทบต่อประสิทธิภาพของตัวเร่งปฏิกิริยา
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
ตัวเร่งปฏิกิริยาชีวภาพโปรติเอสทนร้อนจากเชื้อ Thermomonospora curvarta เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาชีวภาพที่ได้จากดีเอ็นเอลูกผสมที่ซึ่งได้รับการตัดต่อพันธุกรรม มีความสามารถย่อยโปรตีนได้ที่อุณหภูมิสูง ทนสภาวะที่มีเกลือและสารช่วยจับไอออนของโลหะ (chelating agent) โดยยังคงกิจกรรมของตัวเร่งปฏิกิริยาชีวภาพไว้ได้สูงในสภาวะดังกล่าว
การประดิษฐ์สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในอุตสาหกรรมที่ต้องการย่อยสารประเภทโปรตีนร่วมกับการใช้อุณหภูมิสูง เช่น การซักล้าง การทำอาหารสัตว์ การฟอกหนัง เครื่องดื่มและอาหาร เป็นต้น
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
ดร.หฤษฎ์ ลีละยุวพันธ์
โทรศัพท์ 024709626
โทรศัพท์มือถือ 0634599924
Email haris.lee@mail.kmutt.ac.th
หน่วยงานถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "ตัวเร่งปฏิกิริยาชีวภาพโปรติเอสทนร้อนที่ได้จากดีเอ็นเอลูกผสม"