วัสดุอ้างอิงรับรองอะฟลาทอกซินในเนยถั่ว
นักวิจัย  
ดร.จีรพา บุญญคง
สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
สถานภาพสิทธิบัตร
อยู่ระหว่างยื่นคำขอ
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
Mycotoxins เป็นสารพิษที่มักพบปนเปื้อนในผลิตผลทางการเกษตรที่เพาะปลูกในเขตร้อนชื้น ซึ่งอาจเกิดจากการเก็บรักษาในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น มีความชื้น และอุณหภูมิสูงทำให้เชื้อราบางชนิดที่ผลิตสารพิษ mycotoxins เจริญเติบโตได้ดี อะฟลาทอกซินเป็นสารพิษที่มีความเป็นพิษมากที่สุดที่พบปนเปื้อนในอาหาร อะฟลาทอกซินที่สำคัญมี 4 ชนิดคือ B1 B2 G1 และ G2 (AFB1 AFB2 AFG1 และ AFG2) อาหาร และผลิตผลทางการเกษตรที่มักตรวจพบอะฟลาทอกซินได้แก่ ข้าว ข้าวโพด ธัญพืช ถั่วและเครื่องเทศต่างๆ การปนเปื้อนของอะฟลาทอกซินในสินค้าเกษตร ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสุขภาพของผู้บริโภค รวมทั้งการสูญเสียผลผลิตที่ปนเปื้อนอะฟลาทอกซิน ซึ่งส่งผลต่อเศรษฐกิจและการค้า ดังนั้นประเทศต่างๆ จึงมีการกำหนดปริมาณสูงสุดของอะฟลาทอกซินที่อนุญาตให้ปนเปื้อนในอาหาร และสินค้า (maximum allowable level) อยู่ในระดับส่วนในพันล้านส่วน (ppb) ขึ้นอยู่กับชนิด และวัตถุประสงค์การนำสินค้านั้นๆ ไปใช้
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติถ่ายทอดความถูกต้องของผลการวัดที่สถาปนาได้สู่ห้องปฏิบัติการทดสอบทางเคมีทั่วประเทศผ่านวัสดุอ้างอิง/วัสดุอ้างอิงรับรอง และการจัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญ เพื่อสร้างระบบมาตรวิทยาเคมีของชาติที่จะส่งเสริมและสนับสนุนการวัดทางเคมีที่มีคุณภาพเพื่อลดการสอบย้อนกลับไปยังต่างประเทศและพัฒนามาตรฐานการวัดทางเคมีให้เท่าเทียมในระดับนานาชาติ
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีราคาเดียว
สนใจสอบถามข้อมูล
ดร.จีรพา บุญญคง
โทรศัพท์ 0 2577 5100 ต่อ 2352
Email cheerapa@nimt.or.th, ps@nimt.or.th
ฝ่ายมาตรวิทยาเคมีและชีวภาพ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "วัสดุอ้างอิงรับรองอะฟลาทอกซินในเนยถั่ว"