อุปกรณ์ยึดจับโทรศัพท์มือถือกับกระบอกตาของกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง
นักวิจัย  
นางสาวพิชญ์สิณี สุวรรณแพทย์
นายสุวิชา ศศิวิมลกุล
นางสาวชญาณิศา สุขเกษม
อาจารย์ประจำวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต
นักศึกษา ป.โท วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต
นักศึกษา ป.โท วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1903002519 ยื่นคำขอวันที่ 27 กันยายน 2562
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เมื่อต้องการส่องวัตถุขนาดเล็ก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น กล้องจุลทรรศน์อย่างง่าย ประกอบด้วยเลนส์ 2 ชิ้น ทำหน้าที่ขยายภาพและแยกแยะรายละเอียดของวัตถุ กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงทั่วไปจึงแบ่งเป็น กล้องจุลทรรศน์สองกระบอกตา และ กล้องจุลทรรศน์สามกระบอกตา ภาพในกล้องจุลทรรศน์เกิดขึ้นเมื่อแสงจากแหล่งกำเนิดผ่ายระบบฉายแสง ได้แก่ เลนส์รวมแสง เลนส์สนาม และเลนส์คอนเดนเซอร์ เข้าสู่ตัวอย่าง เลนส์ใกล้วัตถุจะทำหน้าที่รับแสงที่ตกกระทบตัวอย่างแล้วกระเจิงออกมาให้เป็นแสงขนานบนภาพโฟกัสหลังเลนส์ มีเลนส์ประกอบทำให้แสงกระเจิงกลายเป็นภาพที่มีขนาดใหญ่กว่าขนาดของวัตถุ โดยที่ความยาวโฟกัสของทั้งสองเลนส์ต้องไม่เท่ากัน หรือ ค่าความสามารถของเลนส์ต้องไม่เท่ากัน ภาพที่เกิดขึ้นนี้จำเป็นต้องใช้เซนเซอร์รับภาพ เช่น CCD หรือ CMOS ซึ่งต่อเข้ากับกล้องตรงกระบอกตาเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์แสดงภาพ กล้องจุลทรรศน์นี้เรียกว่า กล้องจุลทรรศน์สามกระบอกตา ซึ่งแตกต่างจากกล้องจุลทรรศน์ใช้แสงสองกระบอกตา อาศัยการดูวัตถุโดยตรงและจำเป็นต้องใส่เลนส์ใกล้ตา เพื่อปรับภาพเป็นแสงขนานเมื่อเข้าสู่ตา
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
อุปกรณ์ยึดจับโทรศัพท์มือถือกับกระบอกตาของกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง มุ่งออกแบบเพื่อให้ใช้โทรศัพท์มือถือถ่ายภาพจากกล้องจุลทรรศน์ได้โดยตรง ซึ่งไม่ต้องใช้อุปกรณ์เซนเซอร์รับภาพต่อเชื่อมกับคอมพิวเตอร์ ด้วยการติดตั้งอุปกรณ์ยึดจับบนกระบอกตาของกล้องจุลทรรศน์ อุปกรณ์ยึดจับโทรศัพท์มือถือนี้ถูกออกแบบให้สามารถปรับขนาดได้สำหรับมือถือ ที่มีขนาดความกว้างของแคลมป์สำหรับสวมยึดโทรศัพท์ได้ระยะตั้งแต่ 55 มิลลิเมตร ถึง 80 มิลลิเมตร และสามารถเลื่อนปรับตำแหน่งของกล้องโทรศัพท์มือถือให้ตรงกับตำแหน่งของเส้นทางเดินของแสงผ่านช่องกระบอกตา เพื่อปรับให้ภาพจากตัวอย่างบนสไลด์เข้าสู่เลนส์กล้องของโทรศัพท์และเข้าสู่เซนเซอร์รับภาพของโทรศัพท์ โดยส่วนที่ใช้ยึดจับกระบอกตาของกล้องจุลทรรศน์มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 40 มิลลิเมตร ออกแบบลักษณะพื้นผิวให้มีร่องเพื่อช่วยยึดติดและไม่ลื่นไถลขณะจับกระบอกตา และใช้น็อตตัวเมียยึดสกรูเกลียวทั้งสองข้างให้แรงสมมาตรกัน
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับ pilot scale ได้ถูกทดสอบในสภาวะทำงานจริง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
อาจารย์พิชญ์สิณี สุวรรณแพทย์
โทรศัพท์มือถือ 0855153764
Email phitsini.s@rsu.ac.th
วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "อุปกรณ์ยึดจับโทรศัพท์มือถือกับกระบอกตาของกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง"