กระบวนการผลิตผ้าต้านแบคทีเรียแกรมบวกด้วยการหมักผ้าร่วมกับแอคติโนแบคทีเรียและกรรมวิธีการสกัดสารเคลือบและตรึงสารโดยตรงจากการหมักด้วยการใช้ความร้อน
นักวิจัย  
อาจารย์กฤษณา พุกอินทร์
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1903003272 ยื่นคำขอวันที่ 4 พฤศจิกายน 2562
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
การศึกษาการผลิตสารต้านจุลินทรีย์ต่างๆ ที่ผลิตจากสิ่งมีชีวิตเพื่อลดสารตกค้างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ก็มีการวิจัยในวงกว้างเพื่อผลิตสารปฏิชีวนะในการรักษาโรคติดเชื้อให้กับมนุษย์ และใช้ประโยชน์ด้านปศุสัตว์ โดยสารต้านจุลินทรีย์เพื่อการรักษาโรค ส่วนใหญ่เป็นสารบริสุทธิ์จึงมีราคาสูง และมีกระบวนการที่ซับซ้อน ในการผลิตและรวมทั้งการเก็บรักษาให้คงสภาพ ซึ่งสารต้านจุลินทรีย์ส่วนใหญ่จะไม่ทนความร้อน การนำมาประยุกต์ใช้ในสารเคลือบผ้าจึงเป็นไปได้ยาก เพราะขั้นตอนยุ่งยากและทำให้ต้นทุนการผลิตสูงตามไปด้วย เนื่องจากผู้ผลิตได้จัดทำการคัดแยกเชื้อแอคติโนแบคที่เรียจากดิน และทดสอบการผลิตในคุณสมบัติในการผลิตสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพบางประการ พบว่าบางสายพันธุ์ที่คัดแยกได้สามารถผลิตสารต้านแบคทีเรียแกรมบวก เจริญได้ในน้ำหมักที่มีส่วนประกอบของแป้งสตาร์ชที่บริโภคซึ่งมีราคาถูก และสารสกัดหยาบที่ได้หลังการหมักมีความทนต่อความร้อนในการออกฤทธิ์ต้านแบคทีเรียแกรมบวกเมื่อมีการให้ความร้อนกับสารสกัดหยาบที่อุณหภูมิต่างๆ ตั้งแต่ 63-121 อาศาเซลเซียส
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
วิธีการผลิตผ้าฝ้ายต้านแบคทีเรียแกรมบวก ปีระกอบด้วยการทำความสะอวดผ้าฝ้าย การหมักผ้าฝ้ายกับน้ำหมักแอคนิโนแบคทีเรีย การสกัดและเคลือบผ้าฝ้ายโดยตรงด้วยความร้อน ตั้งแต่ 63-121 อาศาเซลเซียส การทำความสะอาดผ้าฝ้ายหลังหมักและเคลือบผ้าแล้ว และการทำให้แห้งจากนั้นจะได้ผ้าฝ้ายต้านแบคทีเรียแกรมบวก กับเชื้อมาตรฐานการตรวจสอบการต้านเชื้อของสิ่งทอของมาตรฐาน AATCC ด้วยเชื้อ Staphylococcus aureus AATCC 25923 ซึ่งเป็นกระบวนการผลิตผ้าฝ้ายต้านแบคทีเรียที่ประดิษฐ์ขึ้นนี้ ไม่ยุ่งยากและซับซ้อน องค์ประกอบหลักที่ใช้ในน้ำหมักผ้าฝ้ายต้านเชื้อมีราคาถูก สารเคลือบผ้าที่แอคติโนผลิตขึ้นเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถเพิ่มประโยชน์และสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผ้าฝ้ายในการผลิตภัณฑ์สิ่งทอด้านเชื้อแบคที่เรียในเชิงอุสาหกรรมในอนาคต
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ผลการทดลองระดับห้องปฏิบัติการได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นไปได้
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
หน่วยบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยพะเยา (UP-TLO)
โทรศัพท์ 054-466666 ต่อ 1284
โทรศัพท์มือถือ 093-1373612
Email uptlo.up@gmail.com
มหาวิทยาลัยพะเยา

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "กระบวนการผลิตผ้าต้านแบคทีเรียแกรมบวกด้วยการหมักผ้าร่วมกับแอคติโนแบคทีเรียและกรรมวิธีการสกัดสารเคลือบและตรึงสารโดยตรงจากการหมักด้วยการใช้ความร้อน"