ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากบุก
นักวิจัย  
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชาลีดา บรมพิชัยชาติกุล
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1903002841 ยื่นคำขอวันที่ 1 พฤศจิกายน 2562
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1903002842 ยื่นคำขอวันที่ 1 พฤศจิกายน 2562
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1903002843 ยื่นคำขอวันที่ 1 พฤศจิกายน 2562
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ปัจจุบันยังไม่มีการจัดทำแนวทางการใช้ของผงบุก (Konjac specification) ที่เชื่อมโยงกับสมบัติที่สำคัญต่อการนำไปใช้ในด้านต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม การแบ่งเกรดผงบุกจะอ้างอิงจากมาตรฐนของสรารณรัฐประชาชนจีนเป็นหลัก ซึ่งในมาตรฐานไม่มีข้อแนะนำเกี่ยวกับความหมาะสมผงบุกไปใช้ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารที่แตกต่างกันทั้งยังไม่มีการวิจัยที่ชัดจนกี่ยวกับผลของกรด ความบริสุทธ์และขนาดอนุภาคของผงบุกไปใช้สำหรับอุตสกรรมอาหารในประเทศ ครงการวิจัยนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำแนวทางการใช้ของผงบุก โดยศึกษาผลของขนาดอนุภาคของผงบุก ความหนืด และเปอร์เซ็นตกโคแมนแนนของผงบุกเกรดต่างๆ ต่อสมบัติการนำไปใช้ในด้านการละลายเวลาที่สรละลายบุกได้ความหนึดสูงสุด ความหนืดของสารละลายบุก และความแข็งแรงของเจล เมื่อนำไปใช้ในรูปแบบของเจลหรือแนวทางการนำไปใช้ในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์จากบุกที่เหมาะสม โดยผลที่ได้จากการวิจัยนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อบริษัทที่ผลิตผงบุกและอุตสาหกรรมอาหารในแง่ของการได้ข้อมูลซึ่งเป็นสมบัติที่สำคัญต่อการนำผงบุกไปใช้และเป็นแนวทางในการนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารต่างๆได้อย่างเหมาะสมต่อไป
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
1.เทคโนโลยีต้นแบบในการผลิตผลิตภัณฑ์จากผงบุกในรูปแบบผลิตภัณฑ์เส้นบุกกึ่งสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์เจลลี่ซินไบโอติกเพื่อสุขภาพ และฟิลม์บริโภคได้ ใช้ในการถนอมอาหารและสมุนไพร
2. ผู้ประกอบการสามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ได้ในระดับ SME จนถึงระดับอุตสาหกรรมได้
3. เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไทยโดยมีมาตรฐานและคู่มืออ้างอิงที่ชัดเจนของบุกไทย ไม่ต้องอ้างอิงของต่างประเทศ
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
นางสาวปาริชาต เข็มทอง
โทรศัพท์ 02 579 7435 ต่อ 3305
โทรศัพท์มือถือ 08 5066 0191
Email parichart@arda.or.th
สำนักส่งเสริมการใช้ประโยชน์ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากบุก"