ไอศกรีมตะคร้อ
นักวิจัย  
นายชลันธร วิชาศิลป
คณะทรัพยากรธรรมชาติ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร
 
สถานภาพสิทธิบัตร
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 14501
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ตะคร้อ Schleicheraoleosa เป็นพืชที่มีกระจายอยู่ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาค
ตะวันตกเฉียงใต้ภาคกลาง และทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศไทย ในต่างประเทศสามารถพบได้ที่
ประเทศอินเดีย ศรีลังกา ภูมิภาคอินโดจีน และอินโดนีเซีย โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีความสูงของต้น
ประมาณ 15-25 เมตร แตกกิ่งก้านต่้า เรือนยอดมีลักษณะเป็นทรงพุ่มแผ่กว้าง กิ งก้านมักคดงอ ล้าต้นเป็นปุ่มปม
และพูพอนเปลือกล้าต้นเป็นสีน ้าตาลแดงหรือเป็นสีน ้าตาลเทา เปลือกแตกเป็นสะเก็ดหนา ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะ
เมล็ด โดยสามารถพบได้ตามป่าผลัดใบ ป่าดิบเขา และตามป่าเบญจพรรณทั่วไป ที่ระดับความสูงถึง 1,200 เมตร
ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม มีขนาดประมาณ 2-3 เซนติเมตร ปลายผลเป็นจะงอยแหลมและแข็ง
เปลือกผลหนาคล้ายแผ่นหนัง ผิวผลเกลี ยงเป็นสีเขียวอมสีน ้าตาลหรือเป็นสีน ้าตาล ภายในผลมีเมล็ด 1-2 เมล็ด มีเนื อ
หุ้มเมล็ดใสสีเหลือง ลักษณะฉ่้าน ้า และมีรสเปรี ยว ใช้รับประทานได้ โดยจะออกผลในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนกรกฎาคม
ซึ่งจากปัญหามีผลผลิตตะคร้อออกพร้อมกันเป็นจ้านวนมาก เพื่อเป็นการถนอมอาหาร สร้างมูลค่าเพิ่ม
ให้แก่ตะคร้อ สร้างช่องทางการตลาด
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
เพื่อเพิ่มคุณค่าอาหารที่มีในตะคร้อให้แก่ไอศกรีม สร้างความแปลกใหม่ของ
ไอศกรีม ส่งผลให้มีการใช้ตะคร้อในการผลิตไอศกรีม
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วิชุดา กล้าเวช
โทรศัพท์ 044233000 ต่อ 5101
โทรศัพท์มือถือ 0621656415
Email unisearch.rmuti@gmail.com, wichudaklawech@gmail.com
สถาบันบริการวิชาการแห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "ไอศกรีมตะคร้อ"