ไส้เดือนฝอยกำจัดหอยทาก: ทางเลือกใหม่ในสวนกล้วยไม้
นักวิจัย  
ดร.เกรียง กาญจนวตี
ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1803000560 ยื่นคำขอวันที่ 6 มีนาคม 2561
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
กล้วยไม้เป็นพืชสำคัญทางเศรษฐกิจ โดยในปี พ.ศ. 2561 ประเทศไทยมีมูลค่าการส่งออกกล้วยไม้กว่า 3,000 ล้านบาท สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไม้กว่า 3,000 รายทั่วประเทศ หนึ่งในศัตรูพืชที่เป็นปัญหาสำคัญในสวนกล้วยไม้คือหอยทาก เนื่องจากหอยทากสามารถทำลายทุกส่วนของกล้วยไม้ตั้งแต่ ราก ลำต้น ใบ จนถึง ดอก นอกจากนี้หอยทากยังเป็นพาหะในการนำจุลชีพก่อโรคเข้าสู่กล้วยไม้ เช่น เชื้อแบคทีเรีย และ เชื้อราหลากหลายชนิด วิธีการกำจัดหอยทากสามารถทำได้โดยการใช้สารเคมี ซึ่งปัญหาของสารเหล่านี้คือ มีความเป็นพิษต่อคนและยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการไม่พึ่งพาสารเคมีหรือเกษตรอินทรีย์โดยใช้ไส้เดือนฝอยป้องกันและควบคุมการระบาดของหอยทากศัตรูพืช เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไม้สามารถลดความเสียหายต่อกล้วยไม้ ลดผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตรกรและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายของเกษตรกร
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
1. ป้องกันและควบคุมการระบาดของหอยทากศัตรูพืชได้จริง
2. ไม่พึ่งพาสารเคมี
3. ลดผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตรกรและสิ่งแวดล้อม
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ผลการทดลองระดับห้องปฏิบัติการได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นไปได้
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
นางสาวบุษกร ก้อนทอง
โทรศัพท์ 02 579 7435 ต่อ 3307
โทรศัพท์มือถือ 08 6032 6506
Email bussagorn@arda.or.th
สำนักส่งเสริมการใช้ประโยชน์ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก.

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "ไส้เดือนฝอยกำจัดหอยทาก: ทางเลือกใหม่ในสวนกล้วยไม้"