![]() |
||||||||
นักวิจัย
ผศ. ดร.ธีรศักดิ์ ศรีมิตรรุ่งโรจน์
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ |
||||||||
สถานภาพสิทธิบัตร
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 16541
|
||||||||
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
เชื้อเพลิงชีวมวล (Biomass) ถือได้ว่าเป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่สะอาด แต่ก็มีอุปสรรคในการนำไปใช้งาน เนื่องด้วยเป็นเชื้อเพลิงที่ติดไฟยาก เขม่าและควันเยอะ และยังมีการปะทุของเชื้อเพลิงที่รุนแรงก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้งาน รวมถึงมีปัญหาในการจัดการค่อนข้างมาก เช่น ปัญหาการขนย้าย ปัญหาพื้นที่ในการจัดเก็บ เป็นต้น และเมื่อเปรียบเทียบปริมาณการใช้ชีวมวล (Biomass) ที่ใช้เพื่อผลิตพลังงานต่อ 1 หน่วยพลังงานกับเชื้อเพลิงฟอสซิลอื่นๆ เช่น ถ่านหิน จะพบว่าต้องใช้ปริมาณที่มากกว่า เนื่องด้วยชีวมวล (Biomass) มีปริมาณความชื้นสูง มีค่าความร้อนต่ำ และมีความหนาแน่นต่ำ ซึ่งโดยทั่วไปการใช้เชื้อเพลิงชีวมวลมักจะทำต้องการลดขนาดให้เป็นชิ้นเล็กๆ เพื่อให้เผาไหม้ได้ง่ายขึ้น
ดังนั้นจึงมีการปรับปรุงคุณภาพของตัวเชื้อเพลิงชีวมวลดังกล่าว โดยอาศัยกระบวนการทอร์ริแฟคชั่น (Torrefaction) โดยใช้ความร้อนแบบไม่ใช้อากาศทำปฏิกิริยา ที่อุณหภูมิ 250 – 300 องศาเซลเซียส ทำให้ชีวมวล (Biomass) มีคุณสมบัติทางเคมีและทางกายภาพดีขึ้น เช่น ค่าความร้อน ความหนาแน่น ปรับปรุงคุณสมบัติของชีวมวล (Biomass) ให้สามารถทนความชื้นได้ เป็นต้น |
||||||||
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
1. เป็นนวัตกรรมด้านเครื่องผลิตชีวมวลรูปแบบใหม่
2. ใช้ผลิตชีวมวลได้หลายชนิด อาทิเช่น เศษไม้สับ แกลบ ซังข้าวโพด ฯลฯ 3. ใช้งาน และดูแลรักษาง่าย และมีประสิทธิภาพในการทำงานสูงเมื่อเทียบกับระบบผลิตชีวมวลด้วยขดลวดทำความร้อนด้วยไฟฟ้า 4. เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม |
||||||||
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
|
||||||||
สถานภาพของผลงานวิจัย
ผลการทดลองระดับห้องปฏิบัติการได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นไปได้
|
||||||||
![]() ![]() ![]() |
||||||||
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
|
||||||||
สนใจสอบถามข้อมูล
ภาควิชาวิศวกรรมขนถ่ายวัสดุและโลจิสติกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ | |
|||||||
|