การพัฒนาคาร์บอนไฟเบอร์และคาร์บอนมอร์ต้าคอมโพสิตจากชีวมวลเหลือทิ้งของกากปาล์ม
นักวิจัย  
ผศ.ดร.ชาติชาย ไวยสุระสิงห์
ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2003000579 ยื่นคำขอวันที่ 18 มีนาคม 2563
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1903000555 ยื่นคำขอวันที่ 4 มีนาคม 2563
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
คาร์บอนไฟเบอร์ (Carbon fiber) เป็นเส้นใยคาร์บอนประเภทแกรไฟต์ที่มีการจัดเรียงโครงสร้างของคาร์บอนภายในอย่างเป็นระเบียบในระดับไมโครเมตร และนาโนเมตร การนำคาร์บอนไฟเบอร์และวัสดุนาโนคาร์บอน (carbon nanomaterial) มาใช้เป็นวัสดุเสริมแรงในเพสต์ซีเมนต์ มอร์ต้า และคอนกรีต ทำให้ค่าความแข็งแรงและโมดูลัสของวัสดุเพิ่มขึ้น พื้นฐานที่สำคัญของโครงสร้างคาร์บอนไฟเบอร์และท่อนาโนคาร์บอน เกิดจากการเปลี่ยนโครงสร้างของเซลลูโลสในเส้นใยธรรมชาติ ให้เป็นคาร์บอนประเภทแกรไฟต์ (graphite) ที่ถือเป็นคาร์บอนไฟเบอร์ประเภทหนึ่ง ด้วยวิธีการทางความร้อนและทางเคมี วิธีการดังกล่าวสามารถนำมาประยุกต์ในการเพิ่มมูลค่าในการนำวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตตร เช่น เส้นใยเซลลูโลส จากการปาล์มมาใช้ประโยชน์ได้ งานวิจัยนี้มุ่งเป้าไปที่การพัฒนาคาร์บอนมอร์ต้าร์ซีเมนต์คอมโพสิตจากกากปาล์ม ซึ่งเป็นของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการสกัด ได้แก่ ทะลายปาล์มเปล่า และเปลือกผลปาล์ม มาใช้ในการผลิตคาร์บอนไฟเบอร์ และวัสดุนาโนคาร์บอนในการเสริมแรงของซีเมนต์และมอร์ต้า
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
พัฒนาคาร์บอนไฟเบอร์โดยใช้เส้นใยทะลายปาล์มและเปลือกผลปาล์ม มาเป็นวัตถุดิบตั้งต้นในการสังเคราะห์ด้วยวิํธีตกสะสมไอเคมี (CVD), วิธีคาร์บอไนเซชั่น (CBN), วิธีไฮโดรเทอร์มอลคาร์บอไนเซชั่น (HTC) วิธีคาร์บอไซเซชั่นร่วมกับอาร์คดิสชาร์จ (CBN-ARC) และวิธีไฮโดรเทอร์มอลคาร์บอไซเซชั่นร่วมกับอาร์คดิสชาร์จ (HTC-ARC) และศึกษาสมบัติคาร์บอนมอร์ต้าคอมโพสิตที่ได้จากคาร์บอนไฟเบอร์ที่สังเคราะห์ ได้จากกาปาล์ม พบว่า ได้คาร์บอนไฟเบอร์ที่สังเคราะห์ที่มีคุณภาพสูงเทียบเคียงกับผลิตภัณฑ์ทางการค้า รวมถึงเมื่อนำไปผลิตคาร์บอนมอร์ต้าร์คอมโพสิตจะมีคุณสมบัติ มีความสอดคล้องและใกล้เคียงกับคาร์บอนมอต้าร์คอมโพสิตที่ผลิตขึ้นจากคาร์บอนไฟเบอร์ทางการค้า
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
นางสาวพิมพ์ชนก หลิมศิริวงษ์
โทรศัพท์ 02-579-7435 ต่อ 3306
โทรศัพท์มือถือ 087-5659769
Email pimchanok@arda.or.th
สำนักส่งเสริมการใช้ประโยชน์ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก.

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "การพัฒนาคาร์บอนไฟเบอร์และคาร์บอนมอร์ต้าคอมโพสิตจากชีวมวลเหลือทิ้งของกากปาล์ม"