ระบบขนส่งสัตว์น้ำแบบมีชีวิต
นักวิจัย  
อาจารย์ ดร.บัญชา ทองมี
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฤทธิชัย อัศวราชันย์

มหาวิทยาลัยแม่โจ้
 
สถานภาพสิทธิบัตร
สิทธิบัตร เลขที่ 1901004800
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
สัตว์น้ำ เช่น ปลา กุ้ง ปู หอย เป็นอาหารแหล่งโปรตีนที่สำคัญมีรสชาติอร่อย มีมูลค่าสูงสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรและผู้ค้าทั้งตลาดในและต่างประเทศ โดยเฉพาะจำพวกปลาขึ้นชื่อว่าเป็นอาหารสุขภาพที่มีโปรตีนสูงและย่อยง่าย แต่สัตว์น้ำที่ตายแล้วมักจะมีคุณค่าอาหารและรสชาติความอร่อยลดลงโดยเฉพาะในกลุ่มกุ้งปู การขนย้ายสัตว์น้ำในระบบเก่าจะทำให้มีอัตรารอดต่ำและทำให้สัตว์น้ำพวกนี้มีราคาแพง การพัฒนาปรับปรุงเครื่องขนย้ายสัตว์น้ำในระบบใหม่จะทำให้สัตว์น้ำมีอัตรารอดชีวิตสูง มีคุณค่าอาหารสูง รสชาติอร่อย รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการขนส่งลดลงอย่างมาก
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
การขนส่งสัตว์น้ำแบบมีชีวิตในประเทศไทย ยังเป็นวิธีแบบดั้งเดิม คือการใช้วิธีการบรรทุกถังจุน้ำขนาดใหญ่ไว้บนพาหนะขนส่งหากต้องการส่งสัตว์น้ำแบบมีชีวิต หรือเลือกใช้วิธีที่ทำให้สัตว์น้ำสลบชั่วระยะเวลาหนึ่งที่เพียงพอต่อการขนส่งแต่ยังมีข้อจำกัดกรณีที่ต้องใช้สารปริมาณมากกับสัตว์น้ำบางชนิดเพื่อทำให้สัตว์น้ำสลบ และก่อนการนำไปบริโภคจำเป็นต้องกำจัดกลิ่นและสิ่งตกค้างออกก่อนซึ่งจะทำให้เพิ่มขั้นตอนยุ่งยากขึ้นอีก แนวคิดในการประดิษฐ์ระบบการขนส่งสัตว์น้ำแบบมีชีวิตโดยไม่ใช้สารเคมีจึงเกิดขึ้นด้วยการพัฒนาเป็นระบบขนส่งที่ออกแบบให้เหมาะสมกับสัตว์น้ำแต่ละชนิด โดยใช้หลักการลดอาหาร ให้อากาศ ควบคุมอุณหภูมิ เพื่อลดต้นทุนและให้ปลามีชีวิตจากต้นทางไปยังปลายทาง
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
นางสาวชนัดดา ชัยเนตร
โทรศัพท์ 053-875635
โทรศัพท์มือถือ 082-4806402
Email tlo.mjubi@gmail.com
อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "ระบบขนส่งสัตว์น้ำแบบมีชีวิต"