เครื่องตีเกลียวเส้นด้าย
นักวิจัย  
นางสาวภรณี หลาวทอง

คณะเทคโนโลยีการจัดการ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
 
สถานภาพสิทธิบัตร
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 12001
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
หลักการทอผ้า คือการทำให้เส้นด้ายสองกลุ่มขัดกันในลักษณะตั้งฉากกัน เส้นด้ายกลุ่มหนึ่งเรียกว่า ด้ายยืน และอีกกลุ่มหนึ่งเรียกว่า ด้ายพุ่ง ซึ่งเส้นด้ายทั้งสองกลุ่มต้องผ่านการนำไปตีเกลียวก่อน ทั้งนี้เพื่อทำให้เส้นด้ายมีความเหนียวและผ้าที่ทอมีความหนา การตีเกลียวเป็นการนำเส้นด้ายตั้งแต่ 2 เส้นขึ้นไปมาพันกันในลักษณะเกลียว กระทำได้โดยการนำเส้นด้ายมากรอเข้ากง พร้อมกับดึงเข้าออกในจังหวะและความยาวที่เหมาะสม ทั้งนี้เพื่อให้ได้จำนวนเกลียวที่ต้องการและนำเข้าเครื่องปั่นเพื่อให้เส้นด้ายแน่นขึ้น ก่อนที่หมุนเข้ากงอีกครั้ง เพื่อรวมเป็นไจ ซึ่งหนึ่งไจต้องหมุนกง 80 รอบ เรียกว่า ด้ายดิบ
อุปกรณ์กงแบบเดิมที่ใช้เป็นอุปกรณ์ตีเกลียวเส้นด้ายมีลักษณะเป็นล้อวงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.50 เมตร รองรับด้วยขาตั้ง และมีมือหมุน เพื่อทำให้ล้อวงกลมหมุนด้วยการหมุนของผู้ปฏิบัติงานและปลายอีกด้านหนึ่งของกงถูกออกแบบให้มีแกนเหล็ก เรียกว่าเหล็กไน เชื่อมยึดอยู่ และมีหลอดด้ายสวมอยู่ โดยมีสายพานเป็นอุปกรณ์ส่งกำลังระหว่างล้อวงกลมกับเหล็กไน
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
ผลการนำไปใช้งานในกระบวนการตีเกลียวเส้นไหม
เมื่อพิจารณาจำนวนเกลียวเส้นด้ายที่ผ่านการตีเกลียวเส้นไหมด้วยอุปกรณ์ตีเกลียวเส้นไหม จำนวนเกลียวเส้นด้ายมากที่สุดมีค่าเท่ากับ 290 เกลียวต่อเมตร และจำนวนเกลียวเส้นด้ายน้อยที่สุด มีค่าเท่ากับ 172 เกลียวต่อเมตร มีค่าพิสัยเท่ากับ 118 เกลียวต่อเมตร และจำนวนเกลียวเส้นด้ายที่ผ่านการตีเกลียวเส้นไหมด้วยเครื่องตีเกลียวเส้นไหมมีค่าเท่ากับ
จำนวนเกลียวเส้นด้ายมากที่สุดมีค่าเท่ากับ 305 เกลียวต่อเมตร และจำนวนเกลียวเส้นด้ายน้อยที่สุด มีค่าเท่ากับ 299 เกลียวต่อเมตร มีค่าพิสัยเท่ากับ 6 เกลียวต่อเมตร
เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยกำลังการผลิตการตีเกลียวเส้นไหมด้วยอุปกรณ์ตีเกลียวเส้นไหมของกลุ่มผู้ทอผ้าไหม มีค่า= 17.80 เมตรต่อนาที และกำลังการผลิตการตีเกลียวเส้นไหมด้วยเครื่องตีเกลียวเส้นไหมมีค่าเท่ากับ 94.00 เมตรต่อนาที กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น=428.09 เปอร์เซ็นต์
เมื่อพิจารณาความเหนียวเส้นไหมที่ผ่านการตีเกลียวเส้นไหมด้วยอุปกรณ์ตีเกลียวเส้นไหม มีค่า= 3.516 เมตรต่อนาที และความเหนียวเส้นไหมที่ผ่านการตีเกลียวเส้นไหมมีค่า= 3.708 เมตรต่อนาที ค่าความเหนียวเพิ่มขึ้น5.46 เปอร์เซ็นต์
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับ pilot scale ได้ถูกทดสอบในสภาวะทำงานจริง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วิชุดา กล้าเวช
โทรศัพท์ 044233000 ต่อ 5101
โทรศัพท์มือถือ 0621656415
Email unisearch.rmuti@gmail.com, wichudaklawech@gmail.com
สถาบันบริการวิชาการแห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "เครื่องตีเกลียวเส้นด้าย"