รถยกสิ่งของขึ้น/ลงหลังรถกระบะด้วยระบบไฮดรอลิกส์
นักวิจัย  
นายชาญชัย เหลาหา
ผศ.เอกสิทธิ์ เซ็นหอม
นายนิรัตน์ พึ่งพา
นายเจนนิวัฒน์ กองทิพย์
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1801000372 ยื่นคำขอวันที่ 1 ธันวาคม 2560
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ปัจจุบันพนักงานขนส่งจำเป็นต้องมีรถยกของ (Stacker) อำนวยความสะดวกการขนย้ายวัสดุอุปกรณ์ที่มีน้ำหนักมาก รถยกของ (Stacker) สามารถยกน้ำหนักได้ 200-2100 กิโลกรัมยกได้สูง 850-1,560 มิลลิเมตร จากนั้นต้องใฃ้แรงงานคนในการขนของขึ้นไปวางด้านในรถบรรทุกหรือรถกระบะ การดำเนินการดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการปวดหลัง ปวดขาเนื่องจากยกสิ่งของที่มีน้ำหนัก รถยกใช้ระบบไฮดรอลิกในการยกของได้อย่างง่ายสำหรับสินค้าขนาดใหญ่ แต่ระบบการทำงานยังใช้แรงงานคนในการโยกคันอัดน้ำมันไฮดรอลิกส์เข้า หรือบางรุ่นใช้ระบบไฟฟ้าช่วยอัดน้ำมัน ดังรูปที่ 2 รถดังกล่าวมีข้อเสียคือไม่สามานำรถยกของไปวางไว้ข้างในหรือนำรถยกเข้าไปดึงของจากข้างในรถกระบะได้ หากจะยกของขึ้นบนรถกระบะต้องวางบนท้ายรถก่อน จากนั้นจะต้องดันของเข้าไปข้างใน จึงไม่สะดวก หรือในทำนองเดียวกันหากต้องการยกของลงจากข้างในท้ายรถกระบะต้องดึงของออกมาไว้ที่ท้ายกระบะก่อน แล้วค่อยเอางารถยกสอดเข้า
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
1. เพิ่มผลผลิตในการขนส่ง
2. เพิ่มประสิทธิภาพการขนส่ง
3. ลดอาการเจ็บปวดของผู้ปฎิบัติงาน
4. ได้องค์ความรู้ในการพัฒนารถยก
5. เพิ่มศัพยภาพการแข่งขัน
ผลการทดสอบเครื่องยกของขึ้นหลังรถกระบะด้วยระบบไฮดรอลิกส์ ทำการทดสอบโดยการยกปุ๋ยขึ้นหลังรถกระบะ ครั้งละ50, 100, 150 กิโลกรัม และลักษณะพื้นที่ในการทดสอบยกของขึ้นหลังรถกระบะมี 2 ลักษณะประกอบไปด้วย พื้นคอนกรีต และพื้นถนนลาดยางซึ่งได้ทำทดลองทั้งหมด 30 ชุด ชุดละ 10 ครั้ง
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้ร่วมวิจัยพัฒนา
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบระดับ pilot scale
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วิชุดา กล้าเวช
โทรศัพท์ 044233000 ต่อ 5101
โทรศัพท์มือถือ 0621656415
Email unisearch.rmuti@gmail.com, wichudaklawech@gmail.com
สถาบันบริการวิชาการแห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "รถยกสิ่งของขึ้น/ลงหลังรถกระบะด้วยระบบไฮดรอลิกส์"