การบ่งชี้ชนิดของปลาปักเป้าวัตถุดิบอาหารด้วยเทคนิคมัลติเพล็กซ์พีซีอาร์
นักวิจัย  
ผศ.ดร.ชูตา บุญภักดี
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1401002905 ยื่นคำขอวันที่ 16 พฤษภาคม 2557
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
การบริโภคเนื้อปลาปักเป้าที่มีพิษเตตโตรโดท็อกซิน (tetrodotoxin) ยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ทั้งนี้จะเน้นศึกษาในกลุ่มของปลาปักเป้า Lagocephalus คือปลาปักเป้าหลังด่าง (L. sceleratus) ปลาปักเป้าหลังเรียบ (L. inermis) ปลาปักเป้าหลังน้ำตาล (L. spadiceus) และปลาปักเป้าหลังเขียว (L. lunaris) ที่พบในน่านน้ำไทยและมีการลักลอบจำหน่ายและส่งออกเป็นจำนวนมาก อีกทั้งเครื่องหมายดีเอ็นเอ (DNA) ดังกล่าวจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องการบ่งชี้ชนิดโดยเฉพาะปลาปักเป้าหลังเขียว (L. lunaris) ซึ่งเป็นชนิดที่มีความเป็นพิษมากกว่าชนิดอื่นๆ แต่มักสับสนจากลักษณะสัณฐานวิทยาภายนอกที่คล้ายคลึงกับปลาปักเป้าถูกแปรรูปแล้วเครื่องหมายดีเอ็นเอ (DNA) ก็ยังมีประสิทธิภาพการบ่งชี้และสามารถระบุได้ว่าเป็นเนื้อปลาของปลาปักเป้าได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
การคิดค้นการบ่งชี้ชนิดของปลาปักเป้าในวัตถุดิบอาหารด้วยเทคนิคมัลติเพล็กซ์พีซีอาร์ (multiplex PCR) ซึ่งใช้ชุดโอลิโกนิวคลีโอไทด์ไพรเมอร์ (oligonucleotide primer) ที่ออกแบบใหม่ที่มีความแม่นยำสูง สามารถใช้ทดสอบกับชิ้นส่วนอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งเพียงเล็กน้อย เช่น เนื้อเยื่อ ผิวหนัง และซี่ครีบ เป็นต้น ทั้งในรูปของปลาสด ดองในแอลกอฮอล์ (alcohol) ผ่านการทำให้สุก หรือปลอมปนกับวัตถุอื่นๆ
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ
เงื่อนไข
เทคโนโลยีราคาเดียว
สนใจสอบถามข้อมูล
คุณพัชรวรินทร์ เอี่ยมสอาด
โทรศัพท์ 038-102287
Email tlo.buu.n@gmail.com
ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาและถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "การบ่งชี้ชนิดของปลาปักเป้าวัตถุดิบอาหารด้วยเทคนิคมัลติเพล็กซ์พีซีอาร์"