กรรมวิธีการเตรียมเลคตินจากปะการังอ่อน
นักวิจัย  
ดร.จันทร์จรัส วัฒนะโชติ
สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 0903000824 ยื่นคำขอวันที่ 7 สิงหาคม 2552
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ได้ให้ความสนใจในการค้นคว้าสารสกัดเคมีจากสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลัง เพื่อนำไปใช้เป็นสารโมเลกุลต้นแบบสำหรับผลิตยาปฏิชีวนะ ปัจจุบันยาปฏิชีวนะได้จากสิ่งมีชีวิตโดยอาศัยโมเลกุลที่เป็นโครงสร้างเดิมตามธรรมชาติ และยังได้จากวิธีกึ่งสังเคราะห์โมเลกุลชนิดใหม่ขึ้นมา ซึ่งวิธีหลังมีแนวโน้มเป็นที่นิยมมากขึ้น เพราะมีวิธีการที่ไม่ยุ่งยากและสามารถสร้างโมเลกุลที่ให้คุณสมบัติต่างกันได้ นอกจากวิธีการดังกล่าวแล้ว ยังมีวิธีการผลิตยาสมัยใหม่โดยอาศัยวิธีการทางพันธุวิศวกรรมโดยใช้เชื้อจุลินทรีย์สังเคราะห์โมเลกุลยาที่ต้องการ โดยสอดใส่ยีนที่จะสร้างโมเลกุลยาเข้าไปในเชื้อจุลินทรีย์ที่เหมาะสม ดังนั้นเพื่อที่จะหาตัวยาชนิดใหม่จำเป็นต้องหาแหล่งของสิ่งมีชีวิตที่ผลิตสารที่มีฤทธิ์ต้านจุลชีพ ซึ่งนอกจากฟองน้ำและเพรียงหัวหอมแล้ว เลคติน (lectin) จากปะการังอ่อน (Sinularia erecta) ยังเป็นแหล่งของโปรตีนที่มีฤทธิ์ต้านจุลชีพที่มีประสิทธิภาพสูงเช่นกัน
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
เลคติน (lectin) ที่ได้จากมิวคัสของปะการังอ่อน (Sinularia erecta) และผ่านกระบวนการทำให้บริสุทธิ์ด้วยวิธีแอฟฟินิตีโครมาโตกราฟฟี สามารถทำให้เม็ดเลือดแดงของคนหรือเม็ดเลือดแดงสัตว์ และเซลล์ของแบคทีเรียเกาะกลุ่มได้ รวมทั้งยับยั้งแบคทีเรียกลุ่มที่ก่อให้เกิดโรคในคน และในสัตว์น้ำได้ การที่เลคตินทำให้แบคทีเรีย บางชนิดเกาะกลุ่มได้ สามารถนำไปใช้ในการจำแนกชนิดของแบคทีเรีย และประโยชน์ ด้านการยับยั้งแบคทีเรีย สามารถนำมาพัฒนาเป็นยารักษาโรคสำหรับสัตว์น้ำ และมนุษย์ได้ในอนาคต
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีราคาเดียว
สนใจสอบถามข้อมูล
คุณพัชรวรินทร์ เอี่ยมสอาด
โทรศัพท์ 038-102287
Email tlo.buu.n@gmail.com
ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาและถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "กรรมวิธีการเตรียมเลคตินจากปะการังอ่อน"