หน้าหลัก
ขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี
กิจกรรม
อัลบั้มภาพ
เกี่ยวกับเรา
เข้าสู่ระบบ
|
สมัครสมาชิก
หน้าหลัก
>
เกษตร/ประมง
> ถ่านคาร์บอนกัมมันต์อัจฉริยะ “CARBANO”
ถ่านคาร์บอนกัมมันต์อัจฉริยะ “CARBANO”
นักวิจัย
ดร. พงษ์ธนวัฒน์ เข็มทอง และคณะ
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1803001574 ยื่นคำขอวันที่ 13 กรกฎาคม 2561
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1703000798 ยื่นคำขอวันที่ 11 พฤษภาคม 2560
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ประเทศไทยที่ขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศแห่งเกษตรกรรมและมีวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรที่หลากหลาย ดังนั้น แนวคิดในการนำวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรมาใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้นในการผลิตถ่านคาร์บอนกัมมันต์ จึงนับเป็นหนึ่งในกุญแจดอกสำคัญของการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรของประเทศได้อย่างมีนัยสำคัญ
ถ่านคาร์บอนกัมมันต์ (activated carbon) ชื่อเรียกที่หลายคนคุ้นชินและแฝงไปด้วยคุณประโยชน์ที่หลากหลาย ดังนั้น จึงไม่น่าเปลกใจ หากเราจะเห็นการนำถ่านคาร์บอนกัมมันต์ไปใช้กำจัดหรือดูดซับสิ่งปนเปื้อน เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่สะอาดเหมาะกับการนำไปใช้อุปโภคและบริโภคในอุตสาหกรรมต่างๆ มากมาย เช่น อุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมพลังงาน อุตสาหกรรมยา และอุตสาหกรรมอาหาร เป็นต้น
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
- เทคโนโลยีการผลิตถ่านคาร์บอนกัมมันต์ทั้งวิธีการกระตุ้นทางเคมีและทางกาย
- ชุดอุปกรณ์สำหรับการกระตุ้นถ่านคาร์บอนกัมมันต์ภายใต้บรรยากาศแก๊ส CO2 และ N2 ระดับห้องปฏิบัติการ (ขนาดกำลังการผลิต 10 - 15 กรัม)
- ชุดอุปกรณ์สำหรับการกระตุ้นถ่านคาร์บอนกัมมันต์แบบกึ่งต่อเนื่องภายใต้บรรยากาศ ไอน้ำ แก๊ส CO2 และ N2 ระดับประลอง (ขนาดกำลังการผลิต 15 กิโลกรัม)
- เทคนิคขั้นสูงสำหรับศึกษาสมบัติด้านโครงสร้างและหมู่ฟังก์ชันของถ่านคาร์บอนกัมมันต์ เช่น การศึกษาโครงสร้างสามมิติและโคออร์ดิเนชันด้วยเทคนิคการดูดกลืนรังสีเอ็กส์ (x-ray absorption spectroscopy; XAS), การวิเคราะห์สปีชีส์ที่ว่องไวในบริเวณพื้นผิวหน้าของถ่านคาร์บอนกัมมันต์ด้วยเทคนิคโฟโตอิเล็กตรอนของรังสีเอกส์ (x-ray photoelectron spectroscopy; XPS) เทคนิคการศึกษาลักษณะสัณฐานจากแสงอิเล็คตรอนด้วยเทคนิคอิเล็กตรอนไมโครสโกปี (electron microscopy, EM) ควบคู่กับการระบุชนิดของธาตุ (element mapping) ตลอดจนการศึกษาความเป็นผลึกด้วยเทคนิคการเลี้ยวเบนรังสีเอกส์ (x-ray diffraction; XRD) และรามาน (Raman)
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบระดับ pilot scale
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
ณัฏฐิพร วณิชธนานนท์
โทรศัพท์
0 2564 7100 ต่อ 6650
Email
nuttiporn@nanotec.or.th
งานพัฒนาธุรกิจ ฝ่ายธุรกิจนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี, ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช.
คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "ถ่านคาร์บอนกัมมันต์อัจฉริยะ “CARBANO”"
หน้าหลัก
เกี่ยวกับเรา
กิจกรรม
ขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี
เงื่อนไขการเข้าร่วมโครงการ
ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย
ดาวน์โหลดเอกสารเผยแพร่
ติดต่อเรา
สมัครสมาชิก
เข้าสู่ระบบ
สอบถามข้อมูล
NSTDA Call Center : 0 2564 8000
อีเมล :
techshow@nstda.or.th
Maintenance by
Digital Mind Co., Ltd.
© Copyright 2016 Thailandtechshow.com All Rights Reserved.