ผนังคอมโพสิตแบบรังผึ้ง
นักวิจัย  
ผศ.ดร.ทนงศักดิ์ อิ่มใจ
สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2003001173 ยื่นคำขอวันที่ 1 มิถุนายน 2563
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
การประดิษฐ์ระบบผนังคอมโพสิตแบบรังผึ้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อแก้ปัญหาทางด้านต้นทุนการผลิต ประสิทธิด้านพลังงาน และปัจจัยความแข็งแรงทางด้านวิศวกรรม โดย บูรณาการออกแบบและพัฒนารูปแบบการจัดเรียงวัสดุแกนกลางที่ใช้รับน้ำหนักเป็นแบบลักษณะรังผึ้ง มีความต่อเนื่องของคอนกรีตมวลเบาที่มีเม็ดโฟมเป็นส่วนประกอบ ซึ่งมีคุณสมบัติความเป็นฉนวนกันความร้อน และความชื้นได้อย่างดีเยี่ยม การจัดเรียงวัสดุแกนกลางในลักษณะรูปแบบรังผึ้งนี้ จะมีความสามารถต้านทานแรงแนวราบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความมุ่งหมายของการประดิษฐ์นี้ เพื่อให้เกิดการบูรนาการของระบบผนังโดยคำนึงถึงประสิทธิภาพด้านต้นทุน ประสิทธิภาพด้านการประหยัดพลังงาน และประสิทธิภาพด้านการรับน้ำหนัก ที่ติดตั้งได้รวดเร็วโดยช่างทั่วไป เนื่องจากส่วนประกอบของผนังทุกชื้นส่วน เป็นวัสดุสำเร็จรูป และไม่ต้องมีการฉาบที่ผิว และยังสามารถเดินงานท่อ งานระบบต่างๆ ได้โดยไม่ต้องสกัด หรือรื้อชิ้นส่วนผนังออก ซึ่งจะลดขั้นตอนการก่อสร้างลงได้มาก และสามารถออกแบบใช้เป็นผนังรับแรงสำหรับบ้านพักอาศัย ขนาด 1 ชั้น โดยไม่ต้องก่อสร้างคานหรือเสา แบบผนังดั้งเดิม
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
• ก่อสร้างได้รวดเร็ว ประหยัดเวลาและวัสดุเหลือทิ้ง
• ผนังสามารถรับแรงในแรวราบและแนวดิ่งได้
• สามารถออกแบบใช้เป็นระบบผนังรับแรงสำหรับบ้านพักอาศัยขนาด 1 ชั้นได้
• สามารถป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
กัตติกา แพรกทอง
โทรศัพท์ 075-672927
โทรศัพท์มือถือ 089-971-7930
Email kattika.pr@wu.ac.th
ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "ผนังคอมโพสิตแบบรังผึ้ง"