เทคโนโลยีการลดกลิ่นบูดเน่าในการเตรียมยางก้อนถ้วยและยางแท่งโดยใช้สาร enR/3S® (เอ็นอาทริปเปิ้ลเอส) |
นักวิจัย |
|
นางฉวีวรรณ คงแก้ว
นายสุริยกมล มณฑา
นางปิยะดา สุวรรณดิษฐากุล และคณะ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ |
|
|
สถานภาพสิทธิบัตร |
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2101000358 ยื่นคำขอวันที่ 2 มกราคม 2564 |
|
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา |
ไทยเป็นผู้ผลิตยางธรรมชาติรายใหญ่ของโลก ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบของยางแท่ง ซึ่งมียางก้อนถ้วยเป็นวัตถุดิบสำคัญของการผลิตยางแท่ง ปัญหาหลักของกระบวนการแปรรูปขั้นต้น คือ กลิ่นเหม็นของยางก้อนถ้วยที่เกิดขึ้นจากจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนตามธรรมชาติเข้าไปย่อยสลายโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมันที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของยางพารา ทำให้เกิดสารระเหยที่มีกลิ่นหลายชนิด และจะถูกส่งต่อไปยังยางแท่ง STR 10/STR 20 ด้วย
การแก้ปัญหาตั้งแต่การผลิตยางก้อนถ้วยจึงเป็นแนวทางที่มีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืนกว่า เพราะสามารถป้องกันการเกิดกลิ่นเหม็นได้ตั้งแต่สวนยางพาราจนถึงโรงงานผลิตยางแท่งและโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์ยาง
ทีมวิจัยได้ค้นพบสารจับตัวน้ำยางพาราชนิดใหม่ ที่สามารถผลิตยางก้อนถ้วยไร้กลิ่น ช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์และปรับปรุงโครงสร้างของโปรตีนให้ใหญ่ขึ้น ซึ่งช่วยลดกลิ่นจากการเน่าเสียได้ มีความปลอดภัยต่อผู้ใช้งานและสิ่งแวดล้อม
|
|
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี |
• จุดเด่นเทคโนโลยี
o ช่วยแก้ไขปัญหากลิ่นเหม็นได้ตั้งแต่สวนยางพาราจนถึงโรงงานผลิตยางแท่งและโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์ยาง
o มีความปลอดภัยต่อผู้ใช้งานและสิ่งแวดล้อม
• การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี
o กระบวนการของ enR/3S® สามารถประยุกต์ใช้ที่ผู้ผลิตยางก้อนถ้วย
|
|
ความร่วมมือที่เสาะหา |
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ |
|
สถานภาพของผลงานวิจัย |
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง |
|
|
เงื่อนไข |
เทคโนโลยีต่อรองราคา |
|
สนใจสอบถามข้อมูล |
ตัวแทนอนุญาตใช้สิทธิ |
โทรศัพท์ |
0 2564 7000 ต่อ 1618 |
งานธุรกิจทรัพย์สินทางปัญญา สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) | |
|
คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "เทคโนโลยีการลดกลิ่นบูดเน่าในการเตรียมยางก้อนถ้วยและยางแท่งโดยใช้สาร enR/3S® (เอ็นอาทริปเปิ้ลเอส)"
|
|