สารดับเพลิงประเภทผงเคมีแห้ง จากวัสดุชีวภาพเหลือใช้ทางการเกษตร
นักวิจัย  
ผศ.ดร.ณัฐบดี วิริยาวัฒน์
ผศ.ดร.สุรชาติ สินวรณ์
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
 
สถานภาพสิทธิบัตร
อยู่ระหว่างยื่นคำขอ
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
มหาวิทยาลัยสวนดุสิตร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) พัฒนานวัตกรรมจากวัสดุชีวภาพเหลือใช้ทางการเกษตร ได้แก่ เปลือกหอย และแกลบข้าวหรือฟางข้าว ด้วยนำมาสังเคราะห์สารนาโนแคลเซียมซิลิเกต เพื่อพัฒนาเป็นสารดับเพลิงที่มีประสิทธิภาพในการดับเพลิงประเภท A B และ K สูงกว่าสารเคมีดับเพลิงสังเคราะห์ชนิดอื่น ทั้งในด้านการลดอุณหภูมิที่ผิวเชื้อเพลิง ระยะเวลาในการดับเพลิง และลดอัตราการติดไฟของเชื้อเพลิง สามารถช่วยแก้ปัญหาการนำเข้าสารดับเพลิงผงเคมีแห้งจากต่างประเทศ ที่มีราคาแพง และก่อให้เกิดปัญหามลพิษต่อสิ่งแวดล้อม
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
สรุปเทคโนโลยี : กระบวนการสังเคราะห์นาโนแคลเซียมซิลิเกตจากวัสดุชีวภาพที่ย่อยสลายตามธรรมชาติ ได้แก่ เปลือกหอย และแกลบข้าว หรือฟางข้าว ด้วยวิธีไฮโดรเทอร์มอล (Hydrothermal) ซึ่งเป็นกระบวนการที่สารแขวนลอยของสารตั้งต้นในน้ำเกิดปฏิกิริยาที่อุณหภูมิสูงในสภาวะภายใต้ความดัน
จุดเด่น : เหมาะสำหรับหน่วยงานทางทหาร กรมอุทยานแห่งชาติ กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ประชาชนทั่วไป นำไปใช้ในการดับเพลิงในพื้นที่ต่าง ๆ สามารถดับเพลิงประเภทไม้และกระดาษ (Class A) น้ำมัน (Class B) เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ (Class C) และน้ำมันที่ใช้ประกอบอาหาร (Class K) สามารถประยุกต์ใช้กับระบบอื่น ๆ เช่น ระบบท่อ หรือติดตั้งกับโดรนดับเพลิงเพื่อใช้ในพื้นที่ที่เข้าถึงยากหรืออันตราย เช่น ในพื้นที่สูง พื้นที่เสี่ยงภัยต่าง ๆ เช่น พื้นที่ไฟป่า พื้นที่ไฟไหม้สารเคมีอันตราย สถานที่เก็บกักน้ำมัน หรือคลังแสง

ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรพัสนันท์ เดชประสิทธิโชค
โทรศัพท์ 02-2445280 ต่อ 2
โทรศัพท์มือถือ 094-253-4559
Email ppsndpstch@hotmail.com
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "สารดับเพลิงประเภทผงเคมีแห้ง จากวัสดุชีวภาพเหลือใช้ทางการเกษตร"