ปุ๋ยชีวภาพและกรรมวิธีการผลิต |
นักวิจัย |
|
รองศาสตราจารย์ ดร. ณัฐพร จันทร์ฉาย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ |
|
|
สถานภาพสิทธิบัตร |
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2001003591 ยื่นคำขอวันที่ 22 มิถุนายน 2563 |
|
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา |
ปัจจุบันใช้สารปฏิชีวนะในการต่อต้านเชื้อก่อโรคและปุ๋ยเคมีในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะทางดินและน้ำเช่น ดินเสื่อมโทรม ขาดธาตุอาหาร มีสารพิษเจือปน ทำให้ปลาและสิ่งมีชีวิตในน้ำตายลง เป็นต้น จุลินทรีย์ที่สามารถตรึงก๊าซไนโตรเจนจากบรรยากาศ และเปลี่ยนเป็นรูปแอมโมเนีย ซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญในการเจริญเติบของของพืชแต่ในพืชนั้นไม่สามารถจะเปลี่ยนรูปหรือสังเคราะห์แอมโมเนียมเองได้ การมีจุลินทรีย์ที่ตรึงไนโตรเจนจึงช่วยให้พืชสามารถดูดซับสารอาหารได้ดีขึ้น และสะดวกขึ้น ส่งเสริมต่อการเจริญเติบโต และมีเชื้อแบคทีเรียที่ช่วยในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช หรือ เอนโดไฟติกแบคทีเรีย ดังนั้น จึงมีการพัฒนาจุลินทรีย์ที่ช่วยตรึงไนโตรเจนกลุ่ม Endophytic bacteria ขึ้นมา ที่ช่วยในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งแบคทีเรีย Bacillus nealsonii MJUP09 นี้มีหน้าที่สำคัญในการรักษาคุณภาพดิน ตรึงไนโตรเจนในบรรยากาศและในดินให้อยู่ในรูปของแอมโมเนียม (NH4+) และไนเตรท (NO3+) ช่วยผลิตฮอร์โมน IAA และไซโตรไคนิน โดยสารทั้งหมดที่แบคทีเรียได้สร้างขึ้น |
|
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี |
ช่วยกระตุ้นการยืดตัวของเซลล์ และการแบ่งเซลล์ และการกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช ส่งเสริมการเจริญเติบโต มีการออกรากที่ยาวขึ้น เพิ่มความสูงของต้น ขนาดกอผลผลิตเพิ่มขึ้น และยับยั้งเชื้อก่อโรคในข้าว สามารถนำไปใช้ในกลุ่มผู้ปลูกพืชอินทรีย์ กลุ่มผู้ปลูกไม้กระถาง พืชผักเศรษฐกิจ การปลูกข้าว พืชสวนและไม้ผล |
|
ความร่วมมือที่เสาะหา |
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ |
|
สถานภาพของผลงานวิจัย |
ได้ต้นแบบระดับ pilot scale |
|
|
เงื่อนไข |
เทคโนโลยีต่อรองราคา |
|
สนใจสอบถามข้อมูล |
นางสาวชนัดดา ชัยเนตร |
โทรศัพท์มือถือ |
0818832696 |
Email |
tlo.mjubi@gmail.com |
ฝ่ายพัฒนาความร่วมมือภาคอุตสาหกรรมและนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ | |
|
คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "ปุ๋ยชีวภาพและกรรมวิธีการผลิต"
|
|