นาโนเซลลูโลสอิมัลชันยืดอายุผักผลไม้และต้านจุลินทรีย์ที่สามารถบริโภคได้จากวัสดุเหลือใช้และผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรม
นักวิจัย  
ผศ.ดร.ณัฐบดี วิริยาวัฒน์
ผศ.ดร.สุรชาติ สินวรณ์
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
 
สถานภาพสิทธิบัตร
อยู่ระหว่างยื่นคำขอ
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
นาโนเซลลูโลสอิมัลชัน (Nanocellulose emulsion) เป็นสารใช้เคลือบเพื่อยืดอายุผักผลไม้ และต้านจุลินทรีย์ที่สามารถบริโภคได้ ช่วยรักษาคุณภาพและลดการสูญเสียผลผลิตผักและผลไม้ได้อย่างปลอดภัย โดยส่วนประกอบหลักพัฒนามาจากชานอ้อยและไขอ้อยในกากตะกอนหม้อกรอง ซึ่งเป็นผลพลอยได้ (By–product) และเป็นวัสดุเหลือใช้จากกระบวนการผลิตน้ำตาลจากอ้อย จากโรงงานน้ำตาลทั่วประเทศที่อยู่ในรูปของกากตะกินหม้อกรองปีละ 200-300 ล้านตัน และเปลือกกุ้งต้มเหลือใช้จากอุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่แข็งในรูปของเปลือกกุ้ง หัวกุ้งและหางกุ้งเหลือทิ้ง คิดเป็นน้ำหนักส่วนเหลือประมาณ 40% ของน้ำหนักกุ้ง
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
กระบวนการสกัดนาโนเซลลูโลสจากชานอ้อยและไขอ้อย โดยใช้เทคนิคการสกัดสารด้วยตัวทำละลายอินทรีย์ที่เหมาะสม การใช้อุณหภูมิและระยะเวลาในการสกัดที่เหมาะสม และเทคนิคการย่อยสลายสารแบบไฮโดรไลซิส (hydrolysis) เพื่อให้ได้นาโนเซลลูโลส และไขอ้อยที่มีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ (Active Compounds) และมีความบริสุทธิ์สูง
นาโนเซลลูโลสอิมัลชันยืดอายุผักผลไม้สามารถใช้กับผักผลไม้สด ผักผลไม้แพ็ค หรือผักผลไม้ที่ปอกสด โดยนาโนเซลลูโลสเป็นสารที่สกัดได้จากชานอ้อยและไขอ้อย มีความปลอดภัย (Generally Recognized as Safe, GRAS) สามารถใช้เป็นวัสดุสัมผัสอาหาร องค์ประกอบของอาหาร และเป็นอาหารเสริมได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค ผู้ประกอบการผักผลไม้ส่งออก และเกษตรกรผู้ผลิตผักผลไม้ปลอดภัยจากสารพิษ หรือผู้ผลิตผักผลไม้อินทรีย์
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรพัสนันท์ เดชประสิทธิโชค
โทรศัพท์ 02-2445280 ต่อ 2
โทรศัพท์มือถือ 094-253-4559
Email ppsndpstch@hotmail.com
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "นาโนเซลลูโลสอิมัลชันยืดอายุผักผลไม้และต้านจุลินทรีย์ที่สามารถบริโภคได้จากวัสดุเหลือใช้และผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรม"