นวัตกรรมการผลิตสารออกฤทธิ์เชิงหน้าที่จากเซลล์ว่านเพชรหึง
นักวิจัย  
ผศ.ฤทธิพันธ์ รุ่งเรือง1
รศ.ดร.ทัศนีย์ พาณิชย์กุล1
ผศ.ดร.วิทิวัส รัตนถาวร1
ผศ.ณัฐพร บู๊ฮวด1
รศ.ดร.ศศิธร คงเรือง2
ดร.นภัสสร เพียสุระ3
ดร.ณัติพล ไข่แสงศรี4
ดร.อรพรรณ เสลามาศกุล4
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
สายวิชาเทคโนโลยีชีวเคมี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
 
สถานภาพสิทธิบัตร
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 2203001748
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ปัจจุบันตลาดเวชสำอางสมุนไพรเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น แต่การใช้สารสกัดจากสมุนไพรยังมีข้อจำกัดอยู่หลายประการ เช่น ต้องใช้ตัวอย่างพืชปริมาณมาก สารสกัดที่ได้แปรเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อม และต้องรอระยะเวลาในการเจริญเติบโตของพืชที่ยาวนาน จากปัญหาดังกล่าวทีมนักวิจัยจึงใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเซลล์พืชในการผลิตสารออกฤทธิ์เชิงหน้าที่สำหรับใช้ในผลิตภัณฑ์เวชสำอางสมุนไพรจากว่านเพชรหึงที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพเครื่องสำอางในรูปของ PhytoTigerCell™ โดยใช้นวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพในการผลิตสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากเซลล์พืช ร่วมกับสารกระตุ้นในการผลิตสารสำคัญ เพื่อให้ได้สารที่บริสุทธิ์ มีปริมาณคงที่ ลดระยะเวลา ในการดำเนินการสามารถผลิตได้ตลอดปีและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ถือเป็น Green cosmetic และจัดอยู่ในกลุ่ม BCG Economy Model
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
PhytoTigerCell™ ใช้นวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพในการผลิตสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากเซลล์พืชร่วมกับสารกระตุ้นในการผลิตสารสำคัญ มีขั้นตอนหลักอยู่ 3 ขั้นตอน คือ (1) การผลิตเซลล์แขวนลอยจากว่านเพชรหึง ศึกษาการเจริญเติบโตของเซลล์ และการเพิ่มปริมาณเซลล์ (2) ขั้นตอนการเพาะเลี้ยง ในอาหารเหลวในรูปเซลล์แขวนลอยร่วมกับการเติมสารกระตุ้นในการผลิตสารสำคัญ (3) ขั้นตอนการเก็บและสกัดสารสำคัญจากเซลล์ว่านเพชรหึงโดยใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สาระสำคัญที่ได้จะผ่าน การตรวจสอบคุณภาพและปริมาณ รวมทั้งความปลอดภัยตามมาตรฐานสมุนไพร นำมาพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ไฮโดรเจล ที่ผ่านการทดสอบกับอาสาสมัคร โดยไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิว
PhytoTigerCell™ เป็นสารสกัดว่านเพชรหึงที่ใช้นวัตกรรมทางเทคโนโลยีชีวภาพในการผลิตสารจากพืชที่ให้สารบริสุทธิ์ ปริมาณคงที่ สามารถผลิตได้ตลอดปี เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green cosmetic) และจัดอยู่ในกลุ่ม BCG Economy Model ตัวสารที่ผลิตได้มีหลายฟังก์ชัน เช่น ลดริ้วรอย ปรับสีผิวกระจ่างใส (ใช้ 1 ได้ถึง 2) และประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงามในรูปแบบอื่นได้
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรพัสนันท์ เดชประสิทธิโชค
โทรศัพท์ 02-2445280 ต่อ 2
โทรศัพท์มือถือ 094-253-4559
Email ppsndpstch@hotmail.com
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "นวัตกรรมการผลิตสารออกฤทธิ์เชิงหน้าที่จากเซลล์ว่านเพชรหึง"