นวัตกรรมอาหารสุขภาพจากผักใบเขียวของพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรีเพื่อการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์
นักวิจัย  
ผศ.ดร.ปัญญภัสก์ ปิ่นแก้ว
ผศ.ดร.สุวรรณา พิชัยยงค์วงศ์ดี
ผศ.ดร.ฐิตา ฟูเผ่า
โรงเรียนการเรือน มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
 
สถานภาพสิทธิบัตร
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 2203001697
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
แคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการในปริมาณมาก ประมาณ 800-1,000 มิลลิกรัมต่อวัน เนื่องจากเป็นส่วนประกอบของกระดูกและฟัน ในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียมอยู่มากมาย แต่เป็นแคลเซียมที่ได้จากการสังเคราะห์ทางเคมี ซึ่งมีข้อเสียคือ ดูดซึมได้ต่ำ บางตัวมีการละลายและการแตกตัวไม่ดี อย่างไรก็ตามในพืชตามธรรมชาติโดยเฉพาะผักใบเขียว ได้แก่ โหระพา คะน้า และกวางตุ้ง เป็นผักที่มีแคลเซียมสูง สามารถละลายและดูดซึมได้ดีกว่าแคลเซียมสังเคราะห์ จึงเหมาะต่อการนำมาเพิ่มมูลค่าโดยพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อาหารฟังก์ชันที่มีแคลเซียมสูงได้
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
ผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพจากผักใบเขียว ได้แก่ ผลิตภัณฑ์พาสตาข้าวกล้องเสริมผักใบเขียวที่มีปริมาณแคลเซียมสูง ใช้กระบวนการผสมและขึ้นรูป และการอบแห้งด้วยเครื่องอบแห้งลมร้อนแบบถาด (Tray dryer) ส่วนผลิตภัณฑ์ผักแผ่นกรอบผสมข้าวไรซ์เบอร์รี่ เป็นขนมขบเคี้ยวที่ใช้กระบวนการบด ผสมให้เป็นเนื้อเดียวกัน และขึ้นรูปโดยใช้เครื่องให้ความร้อนไฟฟ้าแบบกดทับ และผักผงโรยข้าวเสริมแคลเซียมใช้กระบวนการสกัดด้วยอัลคาไลน์ร่วมกับความร้อน
นวัตกรรมอาหารสุขภาพจากผักใบเขียว มีประโยชน์ต่อกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกและจำหน่ายผักในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งสามารถนำวัตถุดิบผักใบเขียวมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารฟังก์ชันที่มีมูลค่าสูงได้
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรพัสนันท์ เดชประสิทธิโชค
โทรศัพท์ 02-2445280 ต่อ 2
โทรศัพท์มือถือ 094-253-4559
Email ppsndpstch@hotmail.com
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "นวัตกรรมอาหารสุขภาพจากผักใบเขียวของพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรีเพื่อการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์"