ไมโครอิมัลชันเซรั่มชะลอวัยจากใบละมุดอินทรีย์ |
นักวิจัย |
|
ผศ.ดร.จิราภรณ์ ทองตัน
ผศ.ดร.วรพงศ์ ภู่พงศ์
อาจารย์ธนิกานต์ นับวันดี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
โรงเรียนการเรือน มหาวิทยาลัยสวนดุสิต |
|
|
สถานภาพสิทธิบัตร |
อยู่ระหว่างยื่นคำขอ |
|
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา |
จังหวัดสุโขทัยในพื้นที่ตามแนวลุ่มแม่น้ำยม เกษตรกรส่วนใหญ่มีอาชีพปลูกละมุด โดยเกษตรกรบ้านสวนอบอุ่น อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย มีความประสงค์ที่จะนำใบละมุดอินทรีย์สายพันธุ์มะกอก ที่เหลือจากการตัดแต่งกิ่งของต้นละมุดมาแปรรูปเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ซึ่งพบว่ายังไม่มีการศึกษาเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ในด้านเครื่องสำอาง ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะศึกษาวิจัยต่อเนื่องจากโครงการ “การศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของละมุดออร์แกนิคเพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์บำรุงผิว” โดยพัฒนาเป็นไมโครอิมัลชันเซรั่มชะลอวัยจากใบละมุดอินทรีย์ |
|
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี |
สรุป: สารสกัดใบละมุดอินทรีย์ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์อิลาสเตส และไม่เป็นพิษต่อเซลล์ไฟโบรบลาสท์ผิวหนังของมนุษย์ ถูกนำมาพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีไมโครอิมัลชัน ผลิตเป็นเซรั่มชะลอวัยที่มีสีเหลืองใส และไม่เหนียวเหนอะหนะ ซึมลงสู่ผิวหนังได้ดี
จุดเด่น: นวัตกรรมนี้เป็นต้นแบบผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสมุนไพร ใช้บำรุงผิวให้นุ่มชุ่มชื้น ชะลอการเกิดริ้วรอย ที่เกิดจากอนุมูลอิสระ เหมาะแก่ผู้สูงอายุ และเป็นการเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกละมุดอินทรีย์ |
|
ความร่วมมือที่เสาะหา |
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ |
|
สถานภาพของผลงานวิจัย |
ได้ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ |
|
|
เงื่อนไข |
เทคโนโลยีต่อรองราคา |
|
สนใจสอบถามข้อมูล |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรพัสนันท์ เดชประสิทธิโชค |
โทรศัพท์ |
02-2445280 ต่อ 2 |
โทรศัพท์มือถือ |
094-253-4559 |
Email |
ppsndpstch@hotmail.com |
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต | |
|
คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "ไมโครอิมัลชันเซรั่มชะลอวัยจากใบละมุดอินทรีย์"
|
|