กรรมวิธีการแปลงเพศปลาหางนกยูง (Poecilia reticulata) ให้เป็นเพศผู้ทั้งหมด
นักวิจัย  
ดร.บุญรัตน์ ประทุมชาติ
คณะวิทยาศาสตร์
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 0801005476 ยื่นคำขอวันที่ 24 ตุลาคม 2551
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ปลาหางนกยูง (P. reticulata) เป็นปลาสวยงามที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายจากผู้เพาะเลี้ยงทั้งในและต่างประเทศ เนื่องจากเป็นปลาที่มีครีบขนาดใหญ่ สีสันสวยงาม เลี้ยงง่าย ทนต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม และสามารถแพร่พันธุ์ได้ง่าย จึงทำให้ธุรกิจการซื้อขายปลาชนิดนี้เปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม และสามารถแพร่พันธุ์ได้ง่าย จึงทำให้ธุรกิจการซื้อขายปลาชนิดนี้สามารถทำรายได้ให้แก่ผู้เพาะเลี้ยง และผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปลาสวยงามเป็นอย่างดี ในธรรมชาติปลาหางนกยูงมีความแตกต่างกันระหว่างเพศผู้กับเพศเมีย โดยสังเกตจากลักษณะภายนอกได้ชัดเจน เพศผู้มีรูปร่างเพรียวยาว บริเวณลำตัว หาง และครีบส่วนต่างๆ มีสีสันลวดลายสวยงาม ส่วนเพศเมียมีรูปร่างอ้วนป้อม โดยเฉพาะส่วนท้องจะขยายใหญ่กว่าเพศผู้มาก สีสันไม่สวยงามเมื่อเปรียบเทียบกับปลาเพศผู้
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
การประดิษฐ์นี้เกี่ยวข้องกับกรรมวิธีในการแปลงเพศปลาหางนกยูง (P. reticulata) โดยการให้อาหารผสมฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน อันเดคาโนเอท (Testosterone undecanoate) ที่ระดับความเข้มข้นและระยะเวลาเหมาะสมกับลูกปลาหางนกยูง เพื่อให้เปลี่ยนเป็นเพศผู้ทั้งหมด ซึ่งจะช่วยเพิ่มผลผลิตปลาหางนกยูงเพศผู้ให้ได้ 100 เปร์เซ็นต์ โดยมีอัตราการเจริญเติบโต อัตราการรอดตาย และสีสันไม่ต่างจากปลาเพศผู้ปกติ แต่จะมีการเจริญพันธุ์เทียบเท่าหรือดีกว่าปลาเพศผู้ที่ไม่ได้รับฮอร์โมน
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีราคาเดียว
สนใจสอบถามข้อมูล
คุณพัชรวรินทร์ เอี่ยมสอาด
โทรศัพท์ 038-102287
Email tlo.buu.n@gmail.com
ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาและถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "กรรมวิธีการแปลงเพศปลาหางนกยูง (Poecilia reticulata) ให้เป็นเพศผู้ทั้งหมด"