เครื่องดื่มชาหมักหรือคอมบูชา (Kombucha)
นักวิจัย  
นายประมวล ทรายทอง
สถาบันค้นคว้าพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2203002008 ยื่นคำขอวันที่ 18 สิงหาคม 2565
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2203002009 ยื่นคำขอวันที่ 18 สิงหาคม 2565
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2203002010 ยื่นคำขอวันที่ 18 สิงหาคม 2565
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
การผลิตเครื่องดื่มชาหมักใช้วิธีการเรียนรู้แบบถ่ายทอดกันมา ดังนั้นการผลิตชาหมักจึงไม่มีมาตรฐานการผลิตที่ชัดเจน รวมทั้งยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดถึงชนิดและปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ที่ดำเนินกิจกรรมระหว่างการหมัก ซึ่งส่วนใหญ่จะนำเชื้อจุลินทรีย์จากการหมักครั้งก่อนมาเป็นกล้าเชื้อเพื่อใช้ในกระบวนการหมักครั้งต่อไปในรูปของก้อนวุ้น (SCOBY) การปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์อื่นๆ ในระหว่างขั้นตอนการผลิต โดยเฉพาะการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์จากอุปกรณ์และภาชนะต่างๆ ที่นำมาใช้ในการผลิตต้องทำความสะอาด และฆ่าเชื้อก่อนใช้งานทุกครั้ง เพราะเชื้อจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนอาจเป็นอันตรายและก่อให้เกิดการเจ็บป่วยของโรคอาหารเป็นพิษและยังมีผลทำให้เครื่องดื่มชาหมักมีคุณภาพและรสชาติด้อยลง “การควบคุมกิจกรรมการหมักเพื่อให้ได้เชื้อจุลินทรีย์กลุ่มที่ดีต่อการหมักและมีความปลอดภัยจึงมีความสำคัญ แต่ในปัจจุบันพบว่ายังไม่มีการหมักโดยใช้กล้าเชื้อที่มีมาตรฐานเป็นไปตามมาตรฐานการผลิตอาหารและการใช้จุลินทรีย์ในอาหารตามประกาศฯ อย.
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
1. ได้ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มหมักคอมบูชา (kombucha) ซึ่งมีความปลอดภัยต่อการบริโภค (กำลังการผลิตในระดับห้องปฏิบัติการ 20 ลิตร)
2. ได้ต้นแบบผลิตภัณฑ์จากการใช้กากชา เพื่อให้เป็นการใช้ประโยชน์ส่วนเหลือจากกากชาเป็นศูนย์ (zero waste) ได้แก่
2.1 ในรูปของอาหาร (food) คือ วุ้นสวรรค์จากกากชา
2.2 ไม่ใช่อาหาร (non-food) คือ ก้อนเชื้อเห็ดผสมกากชา
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
นางสาวปาริชาต เข็มทอง
โทรศัพท์ 025797435 ต่อ 3305
โทรศัพท์มือถือ 0850660191
Email parichart@arda.or.th
สำนักส่งเสริมการใช้ประโยชน์ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก.

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "เครื่องดื่มชาหมักหรือคอมบูชา (Kombucha)"