ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจและประสิทธิภาพทางการเกษตรของปุ๋ยควบคุมการปลดปล่อยด้วยนาโนเทคโนโลยีในการปลูกอ้อย
นักวิจัย  
ดร.วิยงค์ กังวานศุภมงคล
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2103000998 ยื่นคำขอวันที่ 2 เมษายน 2564
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2103000997 ยื่นคำขอวันที่ 2 เมษายน 2564
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2103000996 ยื่นคำขอวันที่ 2 เมษายน 2564
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
การใช้ปุ๋ยเคมีเป็นวิธีหนึ่งที่จะนำมาพัฒนาเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรได้ ปุ๋ยเคมีที่ใช้มีส่วนประกอบของธาตุอาหารหลักที่สำคัญอยู่ 3 ชนิด คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม โดยปุ๋ยไนโตรเจนมีบทบาทสำคัญชนิดหนึ่ง เกือบทุกชนิดละลายน้ำได้ดี และละลายหมดภายใน 2-3 วัน พืชไม่สาามารถดูดซึมใช้ประโยชน์ได้ทันที เมื่อใส่ลงดินจะเกิดปัญหา คือสารประกอบไนโตรเจนจะละลายออกมาอย่างรวดเร็ว ทำให้ความเข้มข้นมีมากจนเกินความต้องการ
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
มุ่งเน้นที่จะประยุกต์ใช้ปุ๋ยควบคุมการปลดปล่อยที่พัฒนาขึ้นด้วยกรรมวิธีการเคลือบเม็ดปุ๋ยเคมีให้มีสมบัติละลายช้าโดยอาศัยพอลิเมอร์ฐานธรรมชาติที่มีการประยุกต์นาโนเคลย์ดัดแปร สำหรับการปลูกอ้อย ทำให้พืชสามารถใช้ประโยชน์จากปุ๋ยได้อย่างมีประสิทธิภาพลดการสูญเสียธาตุอาหารที่อยู่ในเนื้อปุ๋ย ช่วยแก้ปัญหาการเกาะกันของเม็ดปุ๋ยเมื่อสัมผัสความชื้นระหว่างการเก็บ และช่วยลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมได้ ซึ่งจะมีประโยชน์ทั้ง ในด้านธุรกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอีกทั้งสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคอีกด้วย
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
พิมพ์ชนก หลิมศิริวงษ์
โทรศัพท์ 02-579-7435 ต่อ 3306
โทรศัพท์มือถือ -
Email pimchanok@arda.or.th
สำนักส่งเสริมการใช้ประโยชน์ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก.

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจและประสิทธิภาพทางการเกษตรของปุ๋ยควบคุมการปลดปล่อยด้วยนาโนเทคโนโลยีในการปลูกอ้อย"