การใช้กรดไขมันในน้ำมันปาล์มเพื่อผลิตสารลดแรงตึงผิวฐานชีวภาพ
นักวิจัย  
รศ.ดร.อาทิตย์ อัศวสุขี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2103002950 ยื่นคำขอวันที่ 10 ตุลาคม 2564
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ในกระบวนการผลิตน้ำมันปาล์มดิบให้มีความบริสุทธิ์จะให้กรดไขมันเป็นผลิตภัณฑ์พลอยได้ ซึ่งใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตสบู่และเทียนไข ถึงแม้ว่าผลิตภัณฑ์พลอยได้ดังกล่าวจะมีการใช้กันอย่างแพร่หลายในหลายอุตสาหกรรม จึงได้พัฒนาวิธีการแบบใหม่ในการใช้กรดไขมันที่ได้หลังจากการกลั่นน้ำมันปาล์มดิบเพื่อเพิ่มความต้องการและราคาของน้ำมันปาล์มอย่างมีนัยสำคัญ และเพื่อสร้างความมั่นใจให้เกิดความยั่งยืนในอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเตรียมผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มสูงจากกรดไขมันที่ได้หลังจากการกลั่นน้ำมันปาล์มดิบ กรดไขมันที่ได้หลังจากการกลั่นน้ำมันปาล์มดิบดังกล่าวสามารถใช้เป็นวัสดุเริ่มต้นสำหรับการทำอนุพันธ์สารเคมี เป็นสารตัวกลางที่เป็นประโยชน์ และสารเคมีชนิดพิเศษ สารลดแรงตึงผิวฐานชีวภาพที่สังเคราะห์จากทรัพยากรที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
ได้ศึกษาการผลิตสารลดแรงตึงผิวฐานชีวภาพ ได้แก่ ซูโครสโอเลเอตจากซูโครส และกรดโอเลอิกโดยตัวเร่งปฏิกิริยาเรซินแลกเปลี่ยนไอออนชนิดกรด เรซินแลกเปลี่ยนไอออนชนิดเบส และตัวเร่งปฏิกิริยาเอนไซม์ที่ถูกตรึง ซึ่งตัวเร่งปฏิกิริยาที่ใช้มีประสิทธิภาพและเสถียรภาพในการเร่งปฏิกิริยา นอกจากนี้ยังศึกษาสมบัติทางกายภาพ พบว่า ผลิตภัณฑ์สารลดแรงตึงผิวฐานชีวภาพที่เตรียมได้จากซูโครสและกรดโอเลอิกมีคุณภาพสูงสำหรับการใช้เป็นสารอิมัลซิไฟเออร์ และสารซักฟอกได้
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้ร่วมวิจัยพัฒนา
สถานภาพของผลงานวิจัย
ผลการทดลองระดับห้องปฏิบัติการได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นไปได้
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
พิมพ์ชนก หลิมศิริวงษ์
โทรศัพท์ 02-579-7435 ต่อ 3306
โทรศัพท์มือถือ -
Email pimchanok@arda.or.th
สำนักส่งเสริมการใช้ประโยชน์ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก.

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "การใช้กรดไขมันในน้ำมันปาล์มเพื่อผลิตสารลดแรงตึงผิวฐานชีวภาพ"