ต้นแบบการผลิตน้ำมันดีเซลและน้ำมันอากาศยานชีวภาพสังเคราะห์จากผลิตภัณฑ์ปาล์มน้ำมันในถังปฏิกรณ์แบบ ทริกเคิลเบด |
นักวิจัย |
|
ดร.อรรถพล ศรีฟ้า มหาวิทยาลัยมหิดล |
|
|
สถานภาพสิทธิบัตร |
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2003001544 ยื่นคำขอวันที่ 8 กรกฎาคม 2563 |
|
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา |
ตามยุทธศาสตร์ปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม ปี 2558 – 2569 และการอนุมานผลผลิตจากพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการปลูกปาล์มทั้งประเทศ และน้ำมันปาล์มคงเหลือจากการบริโภคเป็นศักยภาพในการผลิตไบโอดีเซล คาดว่าจะสามารถผลิตไบโอดีเซลทดแทนดีเซลได้ 14 ล้านลิตรต่อวัน ในปี 2579 ทั้งนี้ ยังไม่คำนึงถึงการส่งออกน้ำมันปาล์ม อีกทั้งตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 25% ใน 10 ปี (2555-2564) มีการกำหนดเป้าหมาย “เชื้อเพลิงใหม่ทดแทนดีเซล” จำนวน 3 ล้านลิตรต่อวัน โดยจากการศึกษาในเบื้องต้นพบว่าเทคโนโลยีที่มีความเหมาะสมในการนำไปสู่เป้าหมายดังกล่าวคือ เทคโนโลยี BHD (Bio - Hydrogenated Diesel) ผลิตภัณฑ์มีคุณสมบัติใกล้เคียงน้ำมันดีเซล จึงสามารถนำมาทดแทนน้ำมันดีเซลจากฟอสซิล โดยจะสามารถเพิ่มสัดส่วนผสมกับน้ำมันดีเซลได้มากกว่า 20% ด้วยเหตุนี้ในอนาคตข้างหน้า การพัฒนาน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพสังเคราะห์ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันดีเซลหรือน้ำมันอากาศยานที่คุณสมบัติทั้งทางเคมีและทางกายภาพใกล้เคียงกับน้ำมันจากฟอสซิลแทนที่ไบโอดีเซล มีส่วนสำคัญในการใช้ประโยชย์ปาล์มน้ำมันอย่างคุ้มค่าที่สุด |
|
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี |
เตรียมและพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิลฟอสไฟด์บนตัวรองรับอลูมินาที่ถูกเตรียมโดยวิธีเคลือบฝัง พบว่านิกเกิลฟอสไฟด์บนตัวรองรับอลูมินาให้ผลได้ของน้ำมันดีเซลและน้ำมันอากาศยานชีวภาพสังเคราะห์มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ และการเปลี่ยนแปลงสารตั้งต้น 100 เปอร์เซ็นต์เมื่อใช้น้ำมันปาล์มและน้ำมันเมล็ดในปาล์มทางการค้า และมีเสถียรภาพสูงกว่า 80 ชั่วโมง สำหรับในระบบการผลิตแบบต่อเนื่องขนาด 1 ลิตรต่อวันพบว่าพบว่านิกเกิลฟอสไฟด์บนตัวรองรับอลูมินาให้ผลได้ของน้ำมันดีเซลและน้ำมันอากาศยานชีวภาพสังเคราะห์มากกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ และการเปลี่ยนแปลงสารตั้งต้น 100 เปอร์เซ็นต์เมื่อใช้น้ำมันปาล์มและน้ำมันเมล็ดในปาล์มทางการค้าและมีเสถียรภาพสูงกว่า 48 ชั่วโมง และเมื่อใช้น้ำมันปาล์มและน้ำมันเมล็ดในปาล์มที่ใช้แล้วจากการผลิตอาหารพบว่าร้อยละผลได้ของน้ำมันดีเซลและน้ำมันอากาศยานชีวภาพสังเคราะห์และร้อยละการเปลี่ยนแปลงสารตั้งต้นลดลงอย่างชัดเจน สาหรับการทดสอบคุณสมบัติของน้ำมันที่ผลิตได้พบว่าน้ำมันดีเซลชีวภาพสังเคราะห์ผ่านมาตราฐานของกรมธุรกิจพลังงานยกเว้นจุดไหลขุ่นและจุดไหลเท |
|
ความร่วมมือที่เสาะหา |
เสาะหาผู้ร่วมวิจัยพัฒนา |
|
สถานภาพของผลงานวิจัย |
ผลการทดลองระดับห้องปฏิบัติการได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นไปได้ |
|
|
เงื่อนไข |
เทคโนโลยีต่อรองราคา |
|
สนใจสอบถามข้อมูล |
พิมพ์ชนก หลิมศิริวงษ์ |
โทรศัพท์ |
02-579-7435 ต่อ 3306 |
Email |
pimchanok@arda.or.th |
สำนักส่งเสริมการใช้ประโยชน์ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. | |
|
คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "ต้นแบบการผลิตน้ำมันดีเซลและน้ำมันอากาศยานชีวภาพสังเคราะห์จากผลิตภัณฑ์ปาล์มน้ำมันในถังปฏิกรณ์แบบ ทริกเคิลเบด"
|
|