นวัตกรรมการผลิตเยื่อฟางข้าวและชานอ้อยสำหรับใช้ประโยชน์ทางด้านการผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารย่อยสลายทางชีวภาพ
นักวิจัย  
ดร.ปรียานุช สีโชละ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2203001738 ยื่นคำขอวันที่ 12 กรกฎาคม 2565
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ประเทศไทยมีปริมาณตอซัง และฟางข้าวที่ถูกเผาประมาณ 29.12 ล้านตันต่อปี จากงานวิจัยต่างๆ พบว่าฟางข้าวดังกล่าว มีองค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญ ได้แก่ เซลลูโลส (cellulose) และ เฮมิเซลลูโลส (hemicelluloses) ซึ่งสามารถนำมาเป็นวัตถุดิบสำคัญในอุตสาหกรรมการผลิตกระดาษและบรรจุภัณฑ์ได้ อย่างไรก็ตาม การใช้ประโยชน์จากเยื่อฟางข้าวสำหรับการผลิตกระดาษและบรรจุภัณฑ์ ยังไม่เป็นที่แพร่หลายในกลุ่มเกษตรกรมากนัก โครงการนี้เป็นการช่วยส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพการบริหารการใช้ผลผลิตพลอยได้ทางการเกษตร ให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกตามนโยบายอุตสาหกรรม ช่วย
เสริมสร้างรายได้ให้ชุมชนในท้องถิ่น และส้งเสริมให้มีการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มเกษตรกรและอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
การปรับปรุงคุณสมบัติเยื่อฟางข้าว สำหรับใช้ผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารปลอดภัยที่ย่อยสลายทางชีวภาพในเชิงพาณิชย์ และสร์างโมเดลต้นแบบสำหรับเกษตรกร ในการเตรียมการผลิตเยื่อเบื้องต้น เพื่อส่งให้แก่อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับ pilot scale ได้ถูกทดสอบในสภาวะทำงานจริง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)
โทรศัพท์ 025797435 ต่อ 3301
โทรศัพท์มือถือ 0869831247
Email kunakorn@arda.or.th
สำนักส่งเสริมการใช้ประโยชน์

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "นวัตกรรมการผลิตเยื่อฟางข้าวและชานอ้อยสำหรับใช้ประโยชน์ทางด้านการผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารย่อยสลายทางชีวภาพ"